จิตสำนึกในระบบคุณภาพ
หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันการแข่งขันในธุรกิจอุตสาหกรรมนั้น นอกเหนือจากด้านการตลาดที่มีการแข่งขันอย่างต่อเนื่องและเข้มข้นแล้ว ในเรื่องของระบบคุณภาพถือเป็นเรื่องที่มีความสำคัญและได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก ในหลาย ๆ องค์กรมีการนำระบบคุณภาพมาใช้ในธุรกิจ แต่สิ่งสำคัญที่จะทำให้องค์กรได้รับประโยชน์จากระบบคุณภาพต่าง ๆ ที่นำมาใช้ในองค์กรได้นั้น ส่วนหนึ่งต้องมาจากจิตสำนึกของบุคลากรที่อยู่ในองค์กรนั้น ๆ ด้วย
ดังนั้นหลักสูตร “จิตสำนึกด้านคุณภาพเบื้องต้น” จึงเป็นหลักสูตรหนึ่งที่จะให้ความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องของคุณภาพ รวมถึงอธิบายความแตกต่างระหว่าง “การประกันคุณภาพ” กับ “การควบคุมคุณภาพ” ว่าเป็นอย่างไร ตลอดจนช่วยเสริมสร้างจิตสำนึกด้านคุณภาพให้กับบุคลากรภายในองค์กรในเบื้องต้น เพื่อที่จะพัฒนาไปสู่ระบบคุณภาพในระดับต่อ ๆ ไป
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้เกี่ยวกับคำว่า “คุณภาพ” และประโยชน์ของคุณภาพความแตกต่าง
ระหว่างการตรวจสอบคุณภาพ (QC) กับการประกันคุณภาพ (QA)
2. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเกิดความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับคุณภาพ
3. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเกิดความตระหนักถึงการพัฒนาคุณภาพ
หัวข้อในการฝึกอบรม
1. ความหมายของคุณภาพ
2. ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับคุณภาพ
3. การควบคุมคุณภาพคืออะไร
4. การประกันคุณภาพคืออะไร
5. ความแตกต่างระหว่าง Q.C. และ Q.A.
6. พัฒนาการของคำว่า คุณภาพ
7. ระบบบริหารคุณภาพเป็นอย่างไร
วิธีการฝึกอบรม
บรรยาย , กรณีศึกษา, แบบฝึกหัด, Workshop
กลุ่มเป้าหมาย
พนักงาน , หัวหน้างาน, หัวหน้าหน่วย, ผู้จัดการแผนก
จำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรม
ประมาณ 30 – 40 คน / รุ่น
ระยะเวลาในการฝึกอบรม
รุ่นละ 1 วัน
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเกิดจิตสำนึกที่ดีในระบบบริหารคุณภาพ
2. ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการทำงาน
3. ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพขององค์กร