การตรวจติดตามภายใน ISO 14000
หลักการและเหตุผล
ในทุกองค์กรธุรกิจต่างให้ความสำคัญในเรื่องระบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม เพราะนอกจากจะเป็นการช่วยในเรื่องการรณรงค์รักษาสิ่งแวดล้อมแล้วยังเป็นการสร้างความมั่นใจแก่ลูกค้าว่าได้บริโภคหรือซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและมีส่วนในการรักษาสิ่งแวดล้อมด้วย ซึ่งการรักษาระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมในองค์กรให้เป็นไปตามข้อกำหนดจึงเป็นเรื่องสำคัญอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งผู้รับผิดชอบในการตรวจติดตามภายในระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมให้เป็นไปตามข้อกำหนดจึงจำเป็นจะต้องมีความรู้และเทคนิคในการตรวจติดตาม เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดของระบบมาตรฐาน
ดังนั้นหลักสูตร “การตรวจติดตามภายใน ISO 14000” จึงเป็นหลักสูตรที่จะอธิบายถึงวิธีการ ขั้นตอน เทคนิคในการตรวจติดตามและการเขียนรายงานอย่างละเอียดตามข้อกำหนดของระบบ ISO 14000 เพื่อช่วยในการเสริมความรู้ ทักษะให้ผู้เข้าอบรมสามารถทำหน้าที่ของผู้ตรวจติดตามได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นไปตามมาตรฐาน
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมรู้หลักการตรวจติดตามภายในตามมาตรฐาน ISO 14000
2. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเข้าใจไปใช้กับหน่วยงานของตนเองได้อย่างมีประโยชน์สูงสุด
หัวข้อในการฝึกอบรม
1. หลักการตรวจติดตามภายใน ISO 14000
การทบทวนข้อกำหนดโดยละเอียด ตามข้อกำหนดที่ 4.5.4
การตรวจนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม
การตรวจการวางแผนด้านสิ่งแวดล้อม
การตรวจผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม
การตรวจดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม
การตรวจการแก้ไขและป้องกันด้านสิ่งแวดล้อม
การตรวจการทบทวนโดยฝ่ายบริหาร
2. การวางแผนการตรวจติดตามภายใน
วิธีการจัดทำแผนการตรวจติดตาม
วิธีการจัดตั้งทีมผู้ตรวจติดตามภายใน
วิธีการจัดเตรียม Check List ที่มีประสิทธิภาพ
3. การดำเนินการตรวจติดตามภายใน
ขั้นตอนในการดำเนินการ
เทคนิคการเปิดและปิดประชุม
ข้อบกพร่องที่มักจะพบในการตรวจติดตาม
4. การเขียนรายงานและการติดตามผลการตรวจติดตามภายใน
เทคนิคการเขียนรายงานการตรวจติดตามที่มีประสิทธิผล
สิ่งที่ควรหลีกเหลี่ยงในการเขียนรายงานการตรวจติดตาม
การดำเนินการแก้ไขและป้องกัน
การติดตามผลและการปิดสรุป
วิธีการฝึกอบรม
บรรยาย , กรณีศึกษา, แบบฝึกหัด, ฝึกปฏิบัติ
กลุ่มเป้าหมาย
พนักงาน, หัวหน้างาน, หัวหน้าหน่วย, ผู้จัดการแผนก
จำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรม
ประมาณ 20 – 30 คน / รุ่น
ระยะเวลาในการฝึกอบรม
รุ่นละ 1 วัน
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพิ่มความรู้และประสบการณ์ของบุคลากรเพื่อนำไปพัฒนาการตรวจติดตามระบบการจัดการ
สิ่งแวดล้อมภายในองค์กร
2. เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในการตรวจติดตามภายในและนำไปปรับปรุงแก้ไขป้องกันก่อนการ
Surveillance