วิศวกรรมคอนเคอร์เร็นท์การออกแบบเพื่อการประกอบ และ การผลิต
หลักการและเหตุผล
วิศวกรรมคอนเคอร์เร็นท์ (Concurrent Engineering, CE)
เป็นหนึ่งในปรัชญาที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางทั้งในทวีปยุโรป และสหรัฐอเมริกา เนื่องจากสามารถช่วยให้กระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่สามารถดำเนินการได้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิภาพ และมีต้นทุนต่ำ เนื่องจากวิศวกรรมคอนเคอร์เร็นท์ มีแนวทางในการทำงานอย่างเป็นระบบใน การรวบรวม การออกแบบและการผลิตในทุกส่วน โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้พัฒนาผลิตภัณฑ์ได้พิจารณาการออกแบบตั้งแต่ เริ่มต้นไปสู่การควบคุมคุณภาพ และความต้องการอื่นๆไปจนถึงจนถึงการเก็บทิ้งเมื่อหมดอายุ
สำหรับหลักสูตรนี้จะได้นำเสนอแนวทางสำคัญบางส่วนในวิศวกรรมคอนเคอร์เร็นท์ที่สามารถช่วยในการพัฒนาอุตสาหกรรมประเทศไทยได้เป็นอย่างดีได้แก่
1.การออกแบบเพื่อการประกอบ (DFA)
ที่สามารถช่วยลดชิ้นส่วนที่ต้องใช้ ในการประกอบเพื่อให้สามารถประกอบได้รวดเร็วสะดวกเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
2.การออกแบบเพื่อการผลิต (DFM)
ที่เน้นถึงวิธีการในการวัดความสามารถในการผลิตด้วยวิธีการวัดผลทางด้านคุณภาพและปริมาณ
ซึ่งวิธีการและแนวทางการประยุกต์ใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและผลกำไรให้กับองค์กรด้วยวิศวกรรมคอนเคอร์เร็นท์นี้ ท่านสามารถหาคำตอบได้ในหลักสูตรการอบรมครั้งนี้
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้อบรมทราบถึงมุมมองโดยรวมของวิศวกรรมคอนเคอร์เร็นท์
2. เพื่อให้ผู้อบรมได้รับความรู้แนวทางในการออกแบบเพื่อการประกอบ (DFA)
3. เพื่อให้ผู้อบรมได้รับความรู้แนวทางในการออกแบบเพื่อการผลิต (DFM)
4. เพื่อให้ผู้อบรมได้นำความรู้ที่ได้เรียนไปปรับใช้ในการทำงานภายในทีมออกแบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5. เพื่อให้ผู้อบรมได้รับได้มีการฝึกปฏิบัติในการออกแบบเพื่อการประกอบและการผลิต
หัวข้อวิชาการอบรม
1. เรียนรู้ประวัติและมุมมองโดยรวมของวิศวกรรมคอนเคอร์เร็นท์
2. วัตถุประสงค์ของวิศวกรรมคอนเคอร์เร็นท์
3. ประโยชน์ของวิศวกรรมคอนเคอร์เร็นท์
4. พื้นฐานการออกแบบเพื่อการประกอบ
5. อิทธิพลของการออกแบบกับความสามารถในการประกอบ
6. ระเบียบวิธี DFA
7. เครื่องมือในการออกแบบเพื่อการประกอบ
8. พื้นฐานการออกแบบเพื่อการผลิต
9. คำแนะนำในการออกแบบเพื่อการผลิต
10. วิธีการประเมินค่าทางด้านการผลิต
11. การฝึกปฏิบัติทางด้านการออกแบบเพื่อการประกอบ (DFA)
12. การฝึกปฏิบัติทางด้านการออกแบบเพื่อการผลิต (DFM)
13. สรุปการสัมมนาและแนวทางในการประยุกต์ใช้กับงานที่ท่านทำ
คุณสมบัติผู้เข้าอบรม
วิศวกร, ผู้ออกแบบผลิตภัณฑ์, ช่างเทคนิคทางด้านการผลิต, หัวหน้างาน, เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. ผู้อบรมทราบถึงมุมมองโดยรวมของวิศวกรรมคอนเคอร์เร็นท์
2. ผู้อบรมได้รับความรู้แนวทางในการออกแบบเพื่อการประกอบ (DFA)
3. ผู้อบรมได้รับความรู้แนวทางในการออกแบบเพื่อการผลิต (DFM)
4. ผู้อบรมได้นำความรู้ที่ได้เรียนไปปรับใช้ในการทำงานภายในทีมออกแบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5. ผู้อบรมมีพื้นฐานการฝึกปฏิบัติในการออกแบบเพื่อการประกอบและการผลิตได้