การบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์
หลักการและเหตุผล
เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นการพัฒนาระบบการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (PM) เป็นการบำรุงรักษาพยากรณ์ (Predictive Maintenance) เพื่อพยากรณ์ คาดการณ์ การซ่อมบำรุงล่วงหน้า ทำให้มีความพร้อม การซ่อมบำรุงมากยิ่งขึ้น ทั้งทางด้านการเตรียมการ วัสดุ อะไหล่ กำลังคน การผลิตและการส่งมอบลูกค้า
ระบบการบำรุงรักษาพยากรณ์เป็นการซ่อมบำรุงตามการเสื่อมสภาพของเครื่องจักร ทำให้ใช้เครื่องจักรอุปกรณ์การผลิตอย่างคุ้มค่าเวลาการทำงานเครื่องจักรมากขึ้น ผลผลิตมากขึ้น ลดค่าใช้จ่ายการซ่อมบำรุง และการจัดเก็บ-รักษาวัสดุคงคลัง ซึ่งจะทำให้ผู้สัมมนามีความรู้ ความเข้าใจขั้นตอนการจัดทำระบบ การกำหนดพิกัดการตัดสินใจการทำข้อมูลที่ใช้พยากรณ์ซ่อมบำรุง สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้
หัวข้อในการฝึกอบรม
1. ความแตกต่างและการประยุกต์ใช้ระบบการบำรุงรักษาแต่ละแบบ
2. การพัฒนาระบบบำรุงรักษาเชิงป้องกันเป็นระบบ บำรุงรักษาพยากรณ์
3. ข้อดี-ข้อเสียที่ต้องมอง
4. ผังขั้นตอนการทำระบบบำรุงรักษาพยากรณ์
5. การพิจารณาเลือกเครื่องจักร ทำระบบพยากรณ์
6. เครื่องมือที่ใช้ตรวจวัด เพื่อพยากรณ์การซ่อมบำรุง
– การตรวจวิเคราะห์สารหล่อลื่น, การตรวจวัดอุณหภูมิ
– การตรวจวัดเสียง, การวัดการสั่นสะเทือน
– การตรวจสภาพขณะเครื่องจักรหมุนทำงาน
– การตรวจวัดความหนา
– การตรวจวัดรอยแตกร้าว
(สาธิตการใช้เครื่องมือตรวจวัดเครื่องจักรจำลอง)
7. พิกัดการเสื่อมสภาพ และเทคนิคการพยากรณ์การซ่อมบำรุง
8. ตัวอย่างการใช้และรายงานการเสื่อมสภาพเครื่องจักร
9. การตัดสินใจและจุดคุ้มทุนการทำระบบบำรุงรักษาพยากรณ์
10. กลยุทธ์จากประสบการณ์การทำระบบบำรุงรักษาพยากรณ์
วิธีการฝึกอบรม
บรรยาย, Workshop
กลุ่มเป้าหมาย
เป็นผู้ที่มีความรู้พื้นฐานระบบการบำรุงรักษาเชิงป้องกันมาก่อน, ผู้จัดการซ่อมบำรุง, วิศวกร,
ช่างเทคนิคซ่อมบำรุงและผู้สนใจทั่วไป
จำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรม
ประมาณ 20 – 30 คน / รุ่น
ระยะเวลาในการฝึกอบรม
รุ่นละ 1 วัน
หัวข้อในการฝึกอบรม
1. ผู้เข้าอบรมได้ทราบถึงวิธีการพัฒนาระบบการบำรุงรักษาแบบพยากรณ์
2. ทำให้ผู้เข้าอบรมตัดสินใจได้ว่า ท่านพร้อมที่จะพัฒนาระบบการบำรุงรักษาเป็นแบบบำรุงรักษาพยากรณ์หรือไม่
3. ผู้เข้าอบรมได้ทราบเทคนิค ข้อมูลที่ใช้ตัดสินใจ เพื่อพยากรณ์การซ่อมบำรุง
4. ผู้เข้าอบรมได้ทราบถึงตัวอย่างแบบฟอร์มรายงานการตัดสินใจซ่อมบำรุงพยากรณ์
