ตัวชี้วัดในการดำเนินงาน KPIs
หลักการและเหตุผล ปัจจุบันหลายองค์กรต่างมีความตระหนักดีว่า การกำหนดวิสัยทัศน์หรือจุดมุ่งหมายที่ ชัดเจนของ องค์กรรวมทั้งการกำหนดแผนกลยุทธ์ที่รัดกุมนั้น เป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่จะ นำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จได้ แต่สิ่งที่ยากกว่าการกำหนดวิสัยทัศน์และการวางแผนกลยุทธ์ รวมทั้งเป็นปัญหาที่หลายองค์กรมักจะประสบและเป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้ไม่สามารถบรรลุตาม วิสัยทัศน์ที่กำหนดได้ ก็คือการที่ไม่สามารถนำวิสัยทัศน์และแผนกลยุทธ์เหล่านั้นไปสู่การปฏิบัติได้อย่างทั่วถึง นักวิชาการและที่ปรึกษาด้านระบบการบริหารจัดการหลายท่านต่างได้ระดมสมองร่วมกัน เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว และได้สรุปเป็นความเห็นที่ตรงกันว่าองค์กรควรมีการกำหนดตัวชี้วัดที่จำเป็น เพื่อเป็นเครื่องมือในการแปลงวิสัยทัศน์และกลยุทธ์มาสู่การปฏิบัติโดยใช้ตัวชี้วัดเป็นเครื่องมือในการกำหนดเป้าหมายร่วมกันระหว่างผู้บริหารและพนักงาน ใช้ตัวชี้วัดเป็นเครื่องมือช่วยสำหรับการกำหนดแผนงานและการจัดสรรงบประมาณประจำปี ใช้ตัวชี้วัดเป็นเครื่องมือสำหรับผู้บริหารใช้ในการติดตามการดำเนินงานในส่วนต่างๆ เพื่อให้มั่นใจว่าเป็นไปตามแผนงานที่กำหนด ใช้ตัวชี้วัดเป็นเครื่องมือช่วยให้ผู้บริหารสามารถคาดการณ์ถึงปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น รวมทั้งใช้ตัวชี้วัดเป็นเครื่องมือในการประเมินผลงาน โดยอาศัยหลักการที่ว่าเมื่อองค์กรประสบความสำเร็จ ผู้บริหารและพนักงานที่เกี่ยวข้องก็สมควรที่จะได้รับผลประโยชน์จากความสำเร็จนั้นอย่างยุติธรรม การตระหนักถึงความจำเป็นดังกล่าว เพื่อให้ผู้บริหารรวมทั้งพนักงานที่เข้าร่วมการสัมมนาสามารถสรุป “ตัวชี้วัดในการดำเนินงาน” เพื่อให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในหน่วยงานให้ได้ประสิทธิผลสูงสุด วัตถุประสงค์ 1.เพื่อให้ผู้เข้าสัมมนาได้รับความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการกำหนดตัวชี้วัด 2.เพื่อให้ผู้เข้าสัมมนาสามารถกำหนดตัวชี้วัดที่จำเป็นของหน่วยงานได้ 3.เพื่อให้ผู้เข้าสัมมนาสามารถนำ ความรู้ ความเข้าใจไปประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดความได้เปรียบในการดำเนินธุรกิจ หัวข้อการสัมมนา 1. ความหมายและความสำคัญของตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน 2. ประโยชน์และความจำเป็นของตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน 3. ตัวชี้วัดผลการดำเนินงานและแผนปฏิบัติงาน 4. ตัวชี้วัดผลการดำเนินงานที่นิยมใช้ในประเทศไทย 5. ตัวชี้วัดผลการดำเนินงานกับวัตถุประสงค์คุณภาพ 6. สรุปเป้าหมายและเกณฑ์การประเมินผล วิธีการสัมมนา การบรรยายโดยทีมวิทยากรและการฝึกปฏิบัติ ระยะเวลาการอบรม 1 วัน (09.00-16.00 น.) ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. […]