Call us: 02-3282110 | E-mail: training@trainerinthai.com

เพิ่มผลผลิต

การดำเนินกิจกรรม KAIZEN ให้เกิดความต่อเนื่องและประสบผลสำเร็จ

หลักการ และเหตุผล ปัญหาส่วนใหญ่ของบริษัทที่มีการดำเนินกิจกรรมไคเซ็น(Kaizen) หรือกิจกรรมข้อเสนอแนะ (Suggestion) ไปซักระยะหนึ่งจะเกิดทางตันทางความคิด คือ “การขาดความร่วมมือของพนักงาน” “แนวทางการแก้ไขปัญหาแบบเดิมๆ ซ้ำของเก่าที่เคยส่งมา” “ไม่มีอะไรแปลกใหม่” “หัวหน้างานคิดให้ลูกน้อง” “เกิดความเบื่อหน่ายจากทั้งคณะกรรมการ และพนักงาน” เป็นต้น ซึ่งปัญหาดังกล่าวเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้การดำเนินกิจกรรมไคเซ็น หรือข้อเสนอแนะไม่ประสบความสำเร็จ ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการพัฒนาทักษะในด้านต่างเพื่อเพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจ และเป็นการเติมไฟในการดำเนินกิจกรรมไคเซ็นให้ประสบผลสำเร็จตามที่ได้ตั้งเอาไว้ วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาการดำเนินกิจกรรมไคเซ็น 2. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินกิจกรรมไคเซ็นได้ อย่างต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพมากขึ้น 3. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปค้นหาหัวข้อ หรือปัญหา และวิธีการการแก้ไขได้อย่างเป็นระบบ หัวข้อการบรรยาย 1. ปัญหา และอุปสรรค์ของการดำเนินไคเซ็น และการแก้ไข 2. หัวใจสำคัญ และประโยชน์ของกิจกรรมไคเซ็น เพื่อการปรับปรุงงาน 3. การปรับเปลี่ยนทัศนคติของพนักงานในการดำเนินกิจกรรมไคเซ็นให้ดีขึ้น 4. การคิดอย่างสร้างสรรค์ (Creative Thinking) และการคิดเชิงระบบ (Systematic Thinking) 5. การค้นหาประเด็นปัญหา และสาเหตุ อย่างเป็นระบบ 6. หลักการวิธีการเขียนข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงให้โดนใจ […]

Tags: , , , , ,

Read more

การดำเนินกิจกรรม 5ส. อย่างมีประสิทธิภาพ (Effectiveness 5S. Activity)

หลักการ และเหตุผล กิจกรรม 5ส ถือเป็นพื้นฐานที่สำคัญ และจำเป็นอย่างยิ่งที่จะส่งเสริมการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับหน่วยงาน เพราะเป็นการสร้างสภาพแวดล้อมที่ดี มีมาตรฐาน เหมาะสมต่อการปฏิบัติงาน ซึ่งจะส่งผลทำให้กระบวนการผลิตมีประสิทธิภาพ ผลิตสินค้าได้คุณภาพ นอกจากนี้ กิจกรรม 5ส ถือเป็นพื้นฐานที่ดีให้กับการดำเนินกิจกรรม ISO การเพิ่มผลผลิต (Productivity) ,KAIZEN หรือ TQM ได้อีกด้วย ด้วยเหตุนี้จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกหน่วยงานควรฝึกอบรมเพื่อให้ความรู้ แก่พนักงาน เพื่อเสริมสร้างให้กิจกรรม 5ส. ดำเนินงานได้อย่างถูกต้อง และต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาหน่วยงาน และเป็นการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับหน่วยงานได้อีกประการหนึ่ง วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการดำเนินกิจกรรม 5ส. ที่ถูกต้องกับพนักงาน 2. เพื่อให้คำแนะนำในการดำเนินกิจกรรม 5ส ซึ่งสามารถนำไปประยุต์ใช้กับการปฏิบัติงาน 3. เพื่อให้คำแนะนำในการปรับปรุงสภาพแวดล้อม และสร้างมาตรฐานที่ดีในการปฏิบัติงาน 4. เพื่อสร้างให้เกิดความตระหนัก ในการที่จะปรับปรุง และพัฒนาให้ได้มาตรฐาน และเกิดการเพิ่มผลผลิต 5. เพื่อใช้เป็นแนวทางในการเพิ่มผลิตให้กับหน่วยงาน และแผนกต่างๆ ในบริษัท หัวข้อการบรรยาย • หลักการ และความรู้เกี่ยวกับ […]

Tags: , ,

Read more

การดำเนินกิจกรรมกลุ่ม QCC อย่างมีประสิทธิภาพ (Effective QCC. Activity)

หลักการ และเหตุผล QC Story เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการแก้ไขปัญหา และพัฒนาการปฏิบติงานอย่างเป็นระบบ วงล้อของเดมิ่ง Deming Circle ซึ่งประกอบด้วย PDAC Plan Do Check และ Action หน่วยงานใดสามารถนำระบบ QC Story ไปใช้ได้อย่างจริงจัง จะพบการเปลี่ยนแปลงขในการปฏิบัติงานไปในทางที่ดีขึ้นอย่างแน่นอน เช่น ลดต้นทุนการผลิต ลดปัญหาความเสียหาย ลดความสูญเปล่าจากการแก้ไข การรอคอยงาน การขาดประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน เป็นต้น วัตถุประสงค์ 1. เพื่ออสร้างแนวคิดในการดำเนินกิจกรรม QCC อย่างเป็นระบบ 2. เพื่อเสริมสร้างแนวคิดการป้องกัน และแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ 3. เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุง และพัฒนาหน่วยงาน และบริษัท หัวข้อการบรรยาย 1. แนวคิด และหลักการของการแก้ไขปัญหาแบบ QC Story 2. การดำเนินกิจกรรม QC อย่างเป็นระบบ 3. ปัญหา และอุปสรรค์ ของการดำเนินกิจกรรม QC […]

Tags: , , , , , ,

Read more

การสร้างจิตสำนึกคุณภาพ ภาคปฏิบัติ (Quality Awareness Building Workshop)

หลักการและเหตุผล ปัญหาชิ้นงานชำรุดเสียหาย (Defect) ต้องแก้ไขงาน (Rework) หรือไม่ได้คุณภาพ (Defect) เครื่องจักรชำรุด (Machine Breakdown) การส่งงานไม่ตรงเวลา (Delay) ลูกค้าส่งสินค้าคืน หรือ ร้องเรียน (Customer Return or Complain) การไม่บรรลุเป้าหมายที่ได้ตั้งเอาไว้ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับทุกหน่วยงาน ปัญหาดังกล่าวที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบต่อความพึงพอใจของลูกค้า (Customer Satisfaction) และความมั่นคงของบริษัท จากการวิเคราะห์พบว่า การขาดจิตสำนึกคุณภาพ (Quality Awareness) ในการปฏิบัติงาน เป็นสาเหตุสำคัญของปัญหาดังกล่าว ในปัจจุบันหลายหน่วยงานได้ให้ความสำคัญกับการสร้างจิตสำนึกคุณภาพ ให้เกิดขึ้นกับพนักงานทุกคนในหน่วยงาน โดยถือเป็นเรื่องที่มีความสำคัญลำดับต้นของหน่วยงานทีเดียว ขั้นตอนการสร้างจิตสำนึกคุณภาพ ภาคปฏิบัติ เริ่มจากการประเมินจิตสำนึกคุณภาพ เพื่อทราบระดับของจิตสำนึกของคุณภาพของพนักงาน แล้วให้ความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับคุณภาพในมิติต่างๆ ความคาดหวัง 3 ประการ ด้วยกระบวนการเรียนรู้ที่เหมาะสม นอกจากนี้ควรนำเครื่องมือ หรือกิจกรรมเพื่อกระตุ้นให้เกิดความต่อเนื่อง จนพนักงานมีความรู้สึกเป็นเจ้าของ มีทัศนคติที่ดีในการสร้าง และรักษาคุณภาพ และรักในงานที่ตนปฏิบัติ “การสร้างจิตสำนึกคุณภาพ ภาคปฏิบัติ จึงเป็นแนวทางใหม่ในการบริหารงาน ซึ่งจะพัฒนาวิธีการปฏิบัติงาน […]

Tags: , , , ,

Read more

Top