หลักสูตร ความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ สำหรับผู้ช่วยเหลือ
ตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ พ.ศ. 2562
รายละเอียดการอบรม
ผู้ช่วยเหลือ ไม่ได้เปิดอบรมแบบ public สามารถเข้าอบรมหลักสูตร 4 ผู้
กรณีมีจำนวน 5 คน ขึ้นไป สามารถติดต่อเพื่อขอราคาเปิดเฉพาะกลุ่มได้
เดือน | วันที่อบรม |
---|---|
มกราคม | 15-18 ม.ค. 28–31 ม.ค. |
กุมภาพันธ์ | 5-8 ก.พ. 19-22 ก.พ. 25-28 ก.พ. |
มีนาคม | 5-8 มี.ค. 18-21 มี.ค. 26-29 มี.ค. |
เมษายน | 2-5 เม.ย. 23-26 เม.ย. |
พฤษภาคม | 7-10 พ.ค. 20-23 พ.ค. 28-31 พ.ค. |
มิถุนายน | 4-7 มิ.ย. 11-14 มิ.ย. 24-27 มิ.ย. |
ค่าลงทะเบียน : 7,000 บาท/ท่าน
ราคาพิเศษ : 6,500 บาท/ท่าน
(กรณีสมัครพร้อมกัน 3 คนขึ้นไป ในหลักสูตรและรุ่นเดียวกัน)
ราคายังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%
สถานที่ฝึกอบรม
ศูนย์ฝึกอบรม เทรนเนอร์ อิน ไทย ซอยเฉลิมพระเกียรติ ร.9 ซอย 45
หลักสูตร ความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ สำหรับผู้ช่วยเหลือ (ระยะเวลา 3 วัน)
วันที่ 1
08.00 – 08.30 ลงทะเบียนเข้าอบรม
08.30 – 09.00 ทดสอบก่อนการอบรม (Pre-test)
09.00 – 16.30 อบรมภาคทฤษฏี (ระยะเวลา 6 ชั่วโมง)
ก. กฎหมายความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ (1 ชั่วโมง)
ข. ความหมาย ชนิด ประเภทของที่อับอากาศ และอันตรายในที่อับอากาศ (1 ชั่วโมง)
ค. การชี้บ่งอันตรายและการประเมินสภาพอันตราย การประเมินสภาพพื้นที่และงาน
และการเตรียมความพร้อมในการทำงานในที่อับอากาศ (1 ชั่วโมง)
ง. วิธีการปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศที่ถูกต้องและปลอดภัย (1 ชั่วโมง)
จ. การใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่ใช้ในที่อับอากาศ
และอุปกรณ์ช่วยเหลือและช่วยชีวิต (1 ชั่วโมง)
ฉ. ระบบการขออนุญาตทำงานในที่อับอากาศและการขอยกเลิกการอนุญาตทำงานในที่อับอากาศ และหลักการตัดแยกพลังงานเพื่อความปลอดภัย (30 นาที)
ช. บทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบของผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ และผู้ปฏิบัติงาน
ในที่อับอากาศ และการสื่อสารระหว่างผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ และผู้ปฏิบัติงาน
ในที่อับอากาศ (30 นาที)
วันที่ 2
09.00 – 16.30 อบรมภาคทฤษฏี (ระยะเวลา 6 ชั่วโมง)
ซ. เทคนิคการตรวจสอบสภาพอากาศในที่อับอากาศ รวมทั้งการใช้และการตรวจสอบ
เครื่องมือ หรืออุปกรณ์ตรวจวัดสภาพอากาศในที่อับอากาศ (1 ชั่วโมง)
ฌ. เทคนิคการระบายอากาศ และเครื่องมือการระบายอากาศในที่อับอากาศ (1 ชั่วโมง)
ญ. อันตรายที่อาจได้รับในกรณีฉุกเฉินและวิธีการหลีกภัย (1 ชั่วโมง)
ฎ. การช่วยเหลือและช่วยชีวิต (1 ชั่วโมง)
ฏ. การปฐมพยาบาลและการช่วยเหลือเบื้องต้น และการปฐมพยาบาลเพื่อช่วยเหลือ
ผู้ที่หยุดหายใจหรือหัวใจหยุดเต้น (CPR) (2 ชั่วโมง)
วันที่ 3
09.00 – 16.30 อบรมภาคปฏิบัติ (ระยะเวลา 6 ชั่วโมง)
ก. เทคนิคการตรวจสอบสภาพอากาศในที่อับอากาศ รวมทั้งการใช้และการตรวจสอบ
เครื่องมือหรืออุปกรณ์ตรวจวัดสภาพอากาศในที่อับอากาศ (1 ชั่วโมง)
ข. เทคนิคการระบายอากาศ และเครื่องมือการระบายอากาศในที่อับอากาศ (1 ชั่วโมง)
ค. การใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่ใช้ในที่อับอากาศ (30 นาที)
ง. การใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือและช่วยชีวิตในที่อับอากาศ (30 นาที)
จ. การช่วยเหลือและช่วยชีวิต (1 ชั่วโมง)
ฉ. การปฐมพยาบาลและการช่วยเหลือเบื้องต้น และการปฐมพยาบาลเพื่อช่วยเหลือ
ผู้ที่หยุดหายใจหรือหัวใจหยุดเต้น (CPR) (1 ชั่วโมง)
ช. สถานการณ์การปฏิบัติงานในที่อับอากาศในสภาพปกติ และกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน (1 ชั่วโมง)
ทดสอบหลังการอบรม (Post-test)
ผู้เข้ารับการฝึกอบรม ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
(1) อายุ 18 ปีขึ้นไป
(2) มีใบรับรองแพทย์ว่าเข้าไปในที่อับอากาศได้
(3) มีวุฒิบัตร “การดับเพลิงขั้นต้น” ตามกฎหมาย
ซอยเฉลิมพระเกียรติ ร.9 ซอย 45 ประเวศ กทม
[ แผนที่ PDF ] | [ Google Maps]