Call us: 02-3282110 | E-mail: training@trainerinthai.com

Production

ต้นทุนคุณภาพ (Cost of Quality)

หลักการและเหตุผล การพัฒนางานอุตสาหกรรมให้มีความสามารถในการแข่งขันที่สูงขึ้นนั้นมีความจำเป็นต้องดำเนินการผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ โดยมีต้นทุนที่เหมาะสม ดังนั้นผู้บริหารงานอุตสาหกรรมจึงต้องสนใจในเรื่องความสามารถของกระบวนการผลิต ตลอดจนการควบคุมกระบวนการผลิตเพื่อให้เกิดคุณภาพของผลิตภัณฑ์ตามที่ต้องการ เพื่อที่จะลดความสูญเสีย และลดต้นทุน แต่ในการดำเนินการเพิ่มคุณภาพอาจทำให้ต้นทุนสูงขึ้น การวัดและการประเมินต้นทุนคุณภาพจึงเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการหาจุดที่คุ้มค่าที่ในในการประสานระหว่างเรื่องการ ปรับปรุงคุณภาพ และการลดต้นทุน วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงของโลกและการจัดการผลิตในยุคโลกาภิวัตร 2. เพื่อให้ทราบถึงความหมายและแนวคิดคุณภาพ องค์ประกอบการเพิ่มผลผลิต 3. เพื่อให้เข้าใจถึง ต้นทุนคุณภาพ ต้นทุนการผลิต ผลกำไร การปรับปรุงการลดต้นทุนแต่ไม่ลดคุณภาพ 4. เพื่อให้สามารถเข้าใจหลักการเก็บข้อมูลด้านคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลและกำหนดแนวทางการดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ เนื้อหาหลักสูตร 1. การเปลี่ยนแปลงของโลกและการจัดการผลิตในยุคโลกาภิวัตร 2. ความสำคัญของคุณภาพ และองค์ประกอบการเพิ่มผลผลิต 3. ความสูญเสียและความสูญเปล่าต่างๆในองค์การ 4. องค์ประกอบของต้นทุนคุณภาพ 5. การเก็บข้อมูลและคำนวณวิเคราะห์ข้อมูลคุณภาพ 6. เทคนิคการปรับปรุงการลดต้นทุนแต่ไม่ลดคุณภาพ 7. กรณีศึกษา และ Workshop คุณสมบัติผู้เข้าอบรม : หัวหน้าแผนก, วิศวกร, หัวหน้างานที่เกี่ยวข้อง ระยะเวลาการอบรม : 1-2 วัน วิธีการอบรม : […]

Read more

วิเคราะห์ต้นทุนในงานอุตสาหกรรม

หลักการและเหตุผล ต้นทุนเป็นสิ่งที่ผู้บริหารงานอุตสาหกรรมทุกคนจะต้องให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ เนื่องจากต้นทุนเป็นปัจจัยที่มีผลต่อความอยู่รอดขององค์กร การบริหารต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพจะช่วยเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันขององค์กรให้สูงขึ้น ดังนั้นหลักสูตร “การวิเคราะห์ต้นทุนในงานอุตสาหกรรม” จะเป็นหลักสูตรที่สอนให้ผู้บริหารงานอุตสาหกรรม, หัวหน้าหน่วยงาน และวิศวกรสามารถวัดประสิทธิภาพการดำเนินงานโดยการวิเคราะห์ต้นทุนที่เกิดขึ้น ตลอดจนสามารถใช้การวิเคราะห์ต้นทุนช่วยในการตัดสินใจในการบริหารการผลิตกรณีต่างๆ วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้ทราบถึงประโยชน์ในการวิเคราะห์ต้นทุนเพื่อการบริหารและการจำแนกประเภทของต้นทุนในงานอุตสาหกรรม 2. เพื่อให้สามารถวัดประสิทธิภาพการดำเนินงานโดยการใช้ระบบต้นทุนมาตรฐานและงบประมาณยืดหยุ่น 3. เพื่อให้สามารถใช้การวิเคราะห์ต้นทุนช่วยในการตัดสินใจในกรณีต่างๆ หัวข้อวิชาการอบรม 1. ประโยชน์ของการวิเคราะห์ต้นทุนในการบริหารงาน วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เข้าอบรมทราบถึงประโยชน์และความสำคัญของการวิเคราะห์ต้นทุน 2. แนวคิด ความหมาย และการจำแนกประเภทต้นทุนในงานอุตสาหกรรม วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมทราบถึงความหมายของต้นทุน 2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถจำแนกประเภทของต้นทุนและคำนวณต้นทุน ต่อหน่วยผลิตภัณฑ์ได้ 3. การคิดค่าเสื่อมราคา วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมทราบถึงวิธีการต่างๆในการคิดค่าเสื่อมราคา 2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมทราบถึงประโยชน์ของค่าเสื่อมราคาในการคำนวณภาษี 4. การใช้ต้นทุนเพื่อตัดสินใจในปัญหาระยะสั้น วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เข้าอบรมทราบถึงวิธีการใช้ต้นทุนในการวิเคราะห์และตัดสินใจใน ปัญหาระยะสั้นในกรณีต่างๆ 5. การวัดประสิทธิภาพการดำเนินงานของศูนย์ต้นทุนโดยการใช้ระบบต้นทุนมาตรฐานและงบประมาณยืดหยุ่น วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมทราบถึงความหมายของศูนย์ต้นทุน 2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมทราบถึงวิธีการการวัดประสิทธิภาพการดำเนินงานของ ศูนย์ต้นทุนโดยการใช้ระบบต้นทุนมาตรฐานและงบประมาณยืดหยุ่น 6. การวิเคราะห์ต้นทุน, ปริมาณ, […]

Read more

เทคนิคการวางแผนและควบคุมการผลิต

หลักการและเหตุผล ปัจจุบันองค์กรธุรกิจอุตสาหกรรมทุกประเภทจะต้องพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลาเนื่องจาก สภาวการณ์ แข่งขันที่รุนแรง การวางแผนและควบคุมการผลิตเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่ผู้บริหารงาน อุตสาหกรรมควรคำนึงถึงการวางแผนและควบคุมการผลิตที่มีประสิทธิภาพจะทำให้องค์กรสามารถทำการผลิตผลิตภัณฑ์ได้อย่างถูกต้อง และส่งมอบผลิตภัณฑ์ได้ตามที่ลูกค้าต้องการ ตลอดจนเกิดต้นทุนในการดำเนินงานต่ำที่สุด ดังนั้นเทคนิคการวางแผนและควบคุมการผลิตเป็นสิ่งที่ผู้บริหารโรงงาน, วิศวกร และหัวหน้างาน ควรเรียนรู้เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้ทราบถึงบทบาทความสำคัญของการวางแผนและควบคุมการผลิตในงานอุตสาหกรรม 2. เพื่อให้ทราบถึงเทคนิคการพยากรณ์ความต้องการของลูกค้าและการประยุกต์ใช้ 3. เพื่อให้ทราบถึงเทคนิคการวางแผนการผลิตรวม, การจัดทำตารางการผลิตหลักและการประยุกต์ใช้ 4. เพื่อให้ทราบถึงเทคนิคการวางแผนวัสดุการผลิตและการประยุกต์ใช้ 5. เพื่อให้ทราบถึงเทคนิคการจัดสมดุลสายการผลิต, การจัดลำดับงานและการประยุกต์ใช้ หัวข้อวิชาการอบรม 1. บทบาทความสำคัญของการวางแผนและควบคุมการผลิตในงานอุตสาหกรรม วัตถุประสงค์ 1.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมทราบถึงบทบาทความสำคัญของการวางแผนและควบคุม การผลิต 2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมทราบถึงการไหลเวียนของข้อมูลในระบบการวางแผนการ ผลิต 2. เทคนิคการพยากรณ์ความต้องการของลูกค้าและการประยุกต์ใช้ วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมทราบถึงทฤษฎีของการพยากรณ์แบบต่างๆ เช่น Least Square, Moving Average, Exponential Smoothing เป็นต้น 2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถประยุกต์ใช้โปรแกรม Excel ในการพยากรณ์ 3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถประเมินความคลาดเคลื่อนของการการพยากรณ์ 3. เทคนิคการวางแผนการผลิตรวม, […]

Read more

การบริหารการผลิตและปฏิบัติการ

การผลิต( production )ในโรงงานอุตสาหกรรม หมายถึง การผลิตสินค้าหรือผลิตภัณฑ์เพื่อให้ได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์ หรือบริการต่างๆ ซึ่งระบบการผลิตจะประกอบด้วย กระบวนการต่างๆเพื่อการเปลี่ยนแปลงปัจจัยการผลิต หรือทรัพยากรการผลิตต่างๆได้แก่ คน วัตถุดิบ เครื่องจักร ที่ดิน และพลังงานเป็นต้น ให้แปรสภาพเป็นผลิตภัณฑ์ สินค้า และบริการ การกำหนดกลยุทธ์การบริหารการผลิตและการปฏิบัติการขั้นพื้นฐาน ผู้บริหารควรพิจารณาใน 4 ประเด็นหลักๆ คือ ต้นทุน (Cost) คุณภาพ (Quality) ความรวดเร็วในการส่งมอบ (Speed of Delivery) ความยืดหยุ่น (Flexible) โดยพิจารณาว่าประเด็นใดบ้างเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จขององค์กร (Key Success Factors) และเป็นเรื่องเร่งด่วนที่องค์กรจะต้องปรับปรุงพัฒนาเพื่อให้แข่งขันกับคู่แข่งทั่วโลกได้ วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้รู้ประเภทการผลิต และองค์ประกอบของการผลิต จัดหาตัววัดการผลิตเพื่อเป็นเครื่องมือในการบริหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื้อหา 1. การแข่งขันในยุคโลกาภิวัตร 2. หลักการบริหาร 3. ประเภทของการผลิต 4. องค์ประกอบของการผลิต/เป้าหมายในการผลิต 5. การพยากรณ์ (Forecasting) 6. การเลือกกระบวนการผลิต […]

Read more

การใช้เทคนิควิศวกรรมอุตสาหการในการปรับปรุงสายการผลิต

หลักการและเหตุผล สายการผลิตที่ดีมีประสิทธิภาพจะช่วยให้ผลผลิตของโรงงานสูงขึ้น เป็นผลให้ต้นทุนการผลิตต่ำลง สามารถรับคำสั่งซื้อจากลูกค้าได้มากขึ้น และส่งมอบผลิตภัณฑ์ได้ตรงตามความต้องการของลูกค้าได้อย่างสม่ำเสมอ เทคนิคทางวิศวกรรมอุตสาหการเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่จะช่วยในการปรับปรุงสายการผลิตในปัจจุบันให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นได้และไม่เกิดค่าใช้จ่ายสูง ดังนั้นหลักสูตร “การใช้เทคนิควิศวกรรม อุตสาหการในการปรับปรุงสายการผลิต” จะเป็นหลักสูตรที่สอนให้ผู้บริหารระดับกลาง, วิศวกร และหัวหน้าหน่วยงาน สามารถนำเทคนิคทางวิศวกรรมอุตสาหการที่เหมาะสม เช่น การจัดสมดุลสายการผลิต และการศึกษาการทำงานไปปรับปรุงประสิทธิภาพสายการผลิตได้อย่างเป็นระบบ วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้ทราบถึงเทคนิควิศวกรรมอุตสาหการที่เหมาะสมในการปรับปรุงสายการผลิต 2. เพื่อให้สามารถจัดสมดุลสายการผลิตเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด 3. เพื่อให้สามารถเข้าใจหลักการศึกษาการทำงานและปรับปรุงวิธีการทำงานอย่างเป็นระบบ หัวข้อวิชาการอบรม 1. แนะนำเทคนิควิศวกรรมอุตสาหการที่เหมาะสมในการปรับปรุงสายการผลิต วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เข้าอบรมทราบถึงงานทางด้านวิศวกรรมอุตสาหการและเทคนิคที่ใช้ในการ ปรับปรุงสายการผลิต 2. วิธีการจัดสมดุลสายการผลิต วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เข้าอบรมทราบถึงวิธีการต่างในการจัดสมดุลสายการผลิตให้เกิด ประสิทธิภาพสูงสุดและนำไปประยุกต์ใช้งานได้จริง 3. การศึกษาการทำงาน (การศึกษาการเคลื่อนไหวและเวลา) วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมทราบถึงเทคนิคและวิธีการศึกษาการทำงาน ตลอดจน หลักการปรับปรุงวิธีการทำงาน 2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมทราบถึงวิธีการหาเวลามาตรฐานของการทำงาน วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถสร้างแผนภูมิควบคุมเชิงผันแปรและแผนภูมิ ควบคุมเชิงคุณลักษณะ และนำมาใช้ในการควบคุมคุณภาพ ระยะเวลาการอบรม 1 วัน คุณสมบัติผู้เข้าอบรม ผู้จัดการ, หัวหน้าแผนก, วิศวกร, […]

Read more

Statistical Process Control (SPC)

หลักการและเหตุผล การผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพตรงตามความต้องการของลูกค้าอย่างสม่ำเสมอ เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการดำเนินธุรกิจอุตสาหกรรม เทคนิคทางสถิติเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่จะช่วยควบคุมกระบวนการผลิตให้มีคุณภาพที่ดีอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ดังนั้นหลักสูตร “Statistical Process Control (SPC)” จะเป็นหลักสูตรที่สอนให้ผู้บริหารระดับกลาง, วิศวกร และหัวหน้าหน่วยงาน สามารถนำเทคนิคทางสถิติไปประยุกต์ใช้ในการควบคุมการผลิตและพัฒนาคุณภาพในการผลิตได้อย่างต่อเนื่อง ตลอดจนสอดคล้องกับข้อกำหนด ISO 9001:2000 วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้ทราบถึงแนวคิดในการใช้สถิติในการควบคุณภาพ 2. เพื่อให้สามารถวิเคราะห์ได้ถึงความสามารถของกระบวนการผลิต 3. เพื่อให้สามารถประยุกต์ใช้แผนภูมิควบคุมประเภทต่างๆในการควบคุมคุณภาพ หัวข้อวิชาการอบรม 1. แนวคิดในการใช้สถิติเพื่อการควบคุมคุณภาพ วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เข้าอบรมทราบถึงแนวคิดและความสำคัญในการใช้สถิติเพื่อการควบคุม คุณภาพ 2. หลักการทางสถิติเบื้องต้นในการวิเคราะห์ข้อมูล วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมทราบถึงประเภทของข้อมูล, ความหมายของประชากร และกลุ่มตัวอย่าง 2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำข้อมูลมาคำนวณค่าทางสถิติต่างๆ 3. Histogram และคุณสมบัติของการแจกแจงแบบปกติ วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถพิจารณาถึงลักษณะการกระจายของค่าควบ คุมในกระบวนการผลิตและประเมินระดับของเสียในการผลิต 2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมทราบถึงคุณสมบัติของการแจกแจงแบบปกติ 4. ดัชนีวัดความสามารถของกระบวนการผลิต ( CP, CPK ) วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เข้าอบรมทราบถึงวิธีการวัดความสามารถของกระบวนการผลิต […]

Read more

การปรับปรุงสายการผลิตด้วยเทคนิค POKA YOKE

หลักการและเหตุผล วิธีการปรับปรุงสายการผลิตนั้นสามารถดำเนินการได้จากหลายวิธีขึ้นอยู่กับโรงงานอุตสาหกรรมว่ามีความต้องการแก้ไขปัญหาในจุดใด เช่น การปรับปรุงกระบวนการทำงาน การปรับปรุงเวลาการผลิต การลดความผิดพลาดที่เกิดขึ้นในสายการผลิต หรือการปรับปรุงเครื่องมือเครื่องจักรในการทำงาน เป็นต้น สำหรับหลักสูตรนี้จะได้นำเสนอวิธีการในการปรับปรุงสายการผลิตรูปแบบหนึ่ง ซึ่งเป็นที่นิยมมากในประเทศญี่ปุ่น เนื่องจากสามารถแก้ไขปัญหาของความผิดพลาดที่สาเหตุของปัญหา (Source Inspection) ทำให้สายการผลิตดำเนินการได้อย่างราบรื่นกระบวนการผลิตและเวลาในการผลิตดีขึ้นอีกทั้งสามารถขจัดปัญหาทางด้านของเสียหรือความผิดพลาดด้านต่างๆได้เป็นอย่างดี โดยเทคนิคนี้เรียกว่า Poka-Yoke ระบบ Poka-Yoke คือ “ระบบป้องกันความผิดพลาด” ซึ่งมีรากฐานมาจากภาษาญี่ปุ่นจากคำว่า POKA ที่หมายถึง ความผิดพลาดจากการไม่เอาใจใส่ และYOKE ที่หมายถึง ป้องกัน/ไม่ให้เกิด/หลีกเลี่ยง ระบบ Poka-Yoke นั้นจะตรวจสอบการผลิตและเตือนก่อนที่จะมีการ ผลิตของเสีย (Defect) เกิดขึ้นในสายการผลิต ทำให้กระบวนการมีความถูกต้องเท่านั้นที่จะสามารถผ่านกระบวนการผลิตนั้นและไปสู่กระบวนการต่อไปได้ ทำให้สายการผลิตราบรื่นและมีปัญหาของเสียน้อยลงจนมุ่งเข้าสู่ของเสียเป็นศูนย์ได้ วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้ทราบถึงมุมมองโดยรวมของการปรับปรุงสายการผลิต 2. เพื่อให้เข้าใจโครงสร้างและสาเหตุของความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้นในสายการผลิต 3. เพื่อให้เข้าใจหลักการและเทคนิคของการป้องกันความผิดพลาด Poka-Yoke 4. เพื่อทราบถึงแนวทางการดำเนินการปรับปรุงคุณภาพโดยใช้ระบบ Poka-Yoke 5. เพื่อให้สามารถวิเคราะห์ปัญหาความผิดพลาดและแก้ไขด้วยเทคนิค Poka-Yoke หัวข้อวิชาการอบรม 1. แนวคิดในการปรับปรุงสายการผลิตโดยรวม 2. แนวคิดของ Poka-Yoke […]

Read more

Lean Manufacturing

หลักการและเหตุผล ในสภาวะปัจจุบันการแข่งขันทางธุรกิจเป็นไปอย่างรุนแรง องค์กรใดที่มีศักยภาพในการแข่งขันสูงก็จะสามารถอยู่รอดและเป็นผู้นำในธุรกิจได้ หลักสูตร “Lean Manufacturing” จะเป็นหลักสูตรที่สอนให้ผู้บริหาร, วิศวกร และหัวหน้างาน ทราบถึงหลักการของลีน , เครื่องมือสำหรับการผลิตแบบลีนด้านลดความสูญเปล่า , การไหลอย่างต่อเนื่อง , การดึงดูดจากลูกค้า , การตัดสินใจ ตลอดจนการผลิตแบบลีนในอุตสาหกรรม เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันขององค์กรให้สูงขึ้น วัตถุประสงค์ 1. ลดความสูญเปล่าในกระบวนการผลิต 2. เพื่อสร้างคุณค่าเพิ่ม โดยการกำหนดคุณค่าของลูกค้าและ สายธารคุณค่าสำหรับแต่ละผลิตภัณฑ์ 3. อธิบายและวิเคราะห์ข้อได้เปรียบเชิงการแข่งขันซึ่งแนะนำและข้อปฏิบัติในการลดการออกแบบ ระบบขนส่งผลิตภัณฑ์ หัวข้อวิชาการอบรม1. ภาพรวมของการผลิตแบบลีน 2. กลยุทธ์สำหรับการผลิตแบบลีน 3. หลักการของลีน 4. แผนเส้นทางสู่การนำไปใช้ในการปรับปรุง 5. กรณีศึกษาการผลิตแบบลีน 6. เครื่องมือสำหรับการผลิตแบบลีนด้าน – ลดความสูญเปล่า , การไหลอย่างต่อเนื่อง – การดึงดูดจากลูกค้า , การตัดสินใจ 7. การผลิตแบบลีนในอุตสาหกรรม SMEs 8. ความสัมพันธ์ของการผลิตแบบลีนกับระบบอื่นๆ […]

Read more

JUS-IN-TIME (การผลิตแบบทันเวลาพอดี)

หลักการและเหตุผล “คุณภาพ ต้นทุน และการส่งมอบ ความต้องการ 3 ประการของลูกค้า” บางธุรกิจลูกค้าจะให้ความสำคัญต่อคุณภาพมากที่สุด เราควรเลือกระบบบริหารที่ช่วยพัฒนาคุณภาพ เช่น TQM, QS-9000, Six Sigma บางธุรกิจเรื่องต้นทุนสำคัญที่สุด ระบบที่เหมาะสมก็น่าจะเป็น TPM แต่สำหรับธุรกิจที่ต้องแข่งกับเวลา ต้องผลิตตามคำสั่งลูกค้า ระบบที่แม้แต่ชาติตะวันตกยังต้องนำไปประยุกต์ใช้ คือ Just In Time หรือ JIT ระบบผลิตทันเวลาพอดี เป็นระบบผลิตที่ถือได้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงแบบพลิกโฉม Shift Paradigm หรือคิดใหม่ Rethink จริงๆ เป็นระบบที่พูดว่า “คำนึงถึงความต้องการของลูกค้า” ได้อย่างเต็มปาก และเพราะความคำนึงถึงความต้องการของลูกค้านี้นี่เอง ทำให้สามารถลดต้นทุนผ่านการประกันคุณภาพ และการลดเวลาการผลิตลงได้ จึงเป็นระบบบริหารที่เด่นชัดมากในเรื่อง ดี ถูก เร็ว วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมตระหนักถึงความสำคัญของ JIT และมีความเข้าใจในแนวคิดของ JIT PRODUCTION 2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำแนวคิด JIT ไปประยุกต์ใช้เพื่อการปรับปรุงการเพิ่มผลผลิตในบริษัทของตนเอง หัวข้อวิชาการอบรม […]

Read more

ความรู้พื้นฐานด้าน GMP (Good Manufacturing Practice)

หลักการและเหตุผล การแข่งขันในธุรกิจ โดยเฉพาะในธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมแล้วในเรื่องของการผลิตอาหารเพื่อส่งออกในตลาดต่าง ๆ สิ่งสำคัญคือคุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ซึ่งในหลาย ๆ ประเทศต่างให้ความสำคัญในเรื่องของระบบคุณภาพความปลอดภัยในตัวผลิตภัณฑ์อาหารทั้งสิ้น ดังนั้นหลักสูตร “ความรู้พื้นฐานด้าน GMP (Good Manufacturing Practice)” จึงเป็นหลักสูตรที่จะให้ความรู้เกี่ยวกับระบบคุณภาพ GMP ความเข้าใจในหลักการจัดทำระบบคุณภาพและให้ทราบขอบเขตการดำเนินการตามมาตรฐานสากล GMP วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมเข้าใจหลักการจัดทำและระดับเอกสารในระบบคุณภาพ (GMP) 2. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถจัดทำเอกสารโปรแกรมพื้นฐานด้านสุขลักษณะ (GMP) ได้อย่าง ถูกต้องและครบถ้วนตามเนื้อหาของมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ 3. เพื่อให้ผู้ประกอบการมีคู่มือโปรแกรมพื้นฐานด้านสุขลักษณะเพื่อใช้จัดการระบบสุขลักษณะภายใน องค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4. เพื่อให้ทราบขอบเขตการดำเนินการตามมาตรฐานสากล GMP หัวข้อในการฝึกอบรม 1. ความสำคัญของ CODEX 2. สาระสำคัญในหลักเกณฑ์ทั่วไป  ขอบข่ายการใช้และนิยามคำศัพท์  การผลิตในขั้นต้น  สถานที่ประกอบการที่เหมาะสม  การควบคุมการปฏิบัติ  การบำรุงรักษาและการสุขาภิบาล  สุขลักษณะส่วนบุคคล  การขนส่ง วิธีการฝึกอบรม […]

Tags:

Read more

Top