Call us: 02-3282110 | E-mail: training@trainerinthai.com

In-house Training

การแก้ปัญหาเพื่อการตัดสินใจ

หลักการและเหตุผล ปัญหาเป็นเรื่องปกติที่จะมีเกิดขึ้นในหน่วยงาน ปัญหาเป็นสิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้และอาจเกิดขึ้นได้โดยที่เราสามารถคาดคิดมาก่อนหรือไม่ก็ได้ ปัญหาบางเรื่องควบคุมไม่ให้เกิดได้ ในขณะที่บางเรื่องควบคุมไม่ได้ เราสามารถแก้ไขปัญหาให้บรรเทาเบาบางได้หรือลดขนาดความเสียหายที่เกิดขึ้นให้น้อยลงได้ ถ้าเรามีหลักการในการแก้ปัญหาอย่างถูกวิธีและมีประสิทธิภาพ การตัดสินใจเป็นกระบวนการหนึ่งที่มีความสำคัญยิ่งต่อการแก้ปัญหา เพราะเป็นส่วนที่มี อิทธิพลและผลกระทบให้ปัญหาสามารถคลี่คลายหรือขยายตัวมากยิ่งขึ้น การตัดสินใจอย่างมีหลักวิธีที่ถูกต้องจะทำให้ปัญหาที่เกิดขึ้นลดขนาดความเสียหายลงหรือหมดไป การทำงานของบุคคลใน หน่วยงานก็จะกลับคืนสู่สภาพปกติ หน่วยงานก็จะมีความสงบสุขและเอกภาพในทีมงานกลับคืนมา ตลอดจนการทำงานของบุคคลจะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพดั่งเดิม วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจหลักเกณฑ์ในการวิเคราะห์ปัญหาและการตัดสินใจ ได้อย่างถูกต้อง ตามขั้นตอน 2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมแก้ปัญหาเฉพาะหน้าและปัญหาต่างๆ ที่ต้องเผชิญได้อย่างทันท่วงที สามารถ แก้ปัญหานั้นๆ ให้ผ่านไอย่างมีระบบ 3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมนำไปเป็นเครื่องมือใช้ประกอบการบริหารงานให้สัมฤทธิ์ผลเพื่อนำไปสู่ปรสิทธิ ภาพโดยรวมขององค์กรได้โดยเร็ว หัวข้อวิชาการอบรม 1.ขั้นตอนของกระบวนการแก้ปัญหาและการตัดสินใจ 2.เกณฑ์การวิเคราะห์ปัญหา 3.การค้นหาปัญหาที่แท้จริงและวิธีขจัดสาเหตุของปัญหานั้น 4.การกำหนดทางเลือกหลายๆ ทางสำหรับการแก้ปัญหา 5.การเลือกทางออกที่ดีที่สุดแลขจัดความขัดแย้งที่สร้างปัญหา 6.การประเมินผลและทดสอบการแก้ปัญหาและตัดสินใจ 7. Work Shop คุณสมบัติผู้เข้าอบรม ระดับผู้บริหาร, ระดับวิศวกรและระดับหัวหน้างาน ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. ผู้อบรมได้เพิ่มพูนทักษะความรู้เกี่ยวกับ “การแก้ปัญหาเพื่อการตัดสินใจ” มากขึ้น สามารถนำความรู้ ไปปฏิบัติได้จริงอย่างเป็นรูปธรรม เป็นที่ยอมรับของฝ่ายบริหารและผู้ใต้บังคับบัญชาในสายงาน 2. ผู้อบรมได้เรียนรู้และตระหนักถึงเรื่องสำคัญต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ “การแก้ปัญหาเพื่อการตัดสินใจ” […]

Read more

WHY- WHY ANALYSIS

หลักการและเหตุผล ในยุคที่การแข่งขันทางด้านธุรกิจที่รุนแรงดังเช่นในปัจจุบัน ทุกคนคงปฏิเสธไม่ได้ว่าปัจจัยที่สำคัญที่จะทำให้ธุรกิจอยู่รอดได้นั้นคือ ความสามารถที่จะผลิตสินค้าที่มีต้นทุนต่ำกว่าและมีคุณภาพที่ดีกว่าคู่แข่งขันได้ นอกจากนี้ยังต้องสามารถส่งมอบสินค้าให้กับลูกค้าได้ทันตามกำหนดเวลา แต่สิ่งเหล่านี้จะเป็นไปไม่ได้เลย ถ้าความสูญเสียมากมายยังคงมีอยู่ในกระบวนการผลิต เนื่องจาก TPM เป็นกิจกรรมที่มุ่งเน้นขจัดความสูญเสียเหล่านี้ให้หมดไปโดยสิ้นเชิง หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ การทำให้เป็นศูนย์ ดังนั้นในปัจจุบันนี้จึงมีหลายบริษัทที่ได้เริ่มนำเอากิจกรรม TPM นี้เข้าไปดำเนินการแต่สิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการขจัดความสูญเสียต่างๆ ให้เป็นศูนย์ได้นั้น คือ การสร้างบุคลากรที่มีความสามารถในการวิเคราะห์หาสาเหตุที่แท้จริง (ฆาตกรตัวจริง) ของปัญหาได้ ดังนั้น เครื่องมือหนึ่งที่สำคัญและเป็นที่ยอมรับกันว่าเป็นเครื่องมือที่สามารถใช้ในการวิเคราะห์หาสาเหตุที่แท้จริงของปัญหาได้อย่างครบถ้วนนั้น คือ Why-Why Analysis วัตถุประสงค์ ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำเทคนิควิธีการของ Why- Why Analysis ไปวิเคราะห์เพื่อค้นหาต้นตอ ที่เป็นสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา หัวข้อวิชาการอบรม 1. โครงสร้างของความสูญเสียและการสำรวจความสูญเสีย 2. แนวทางในการแก้ปัญหาความสูญเสีย 3. Why- Why Analysis คืออะไร 4. สิ่งที่ต้องทำก่อนจะทำการวิเคราะห์ : หลักการ 5 G 5. วิธีการมองปัญหาของ Why- Why Analysis 6. […]

Read more

Statistical Process Control (SPC)

หลักการและเหตุผล การผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพตรงตามความต้องการของลูกค้าอย่างสม่ำเสมอ เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการดำเนินธุรกิจอุตสาหกรรม เทคนิคทางสถิติเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่จะช่วยควบคุมกระบวนการผลิตให้มีคุณภาพที่ดีอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ดังนั้นหลักสูตร “Statistical Process Control (SPC)” จะเป็นหลักสูตรที่สอนให้ผู้บริหารระดับกลาง, วิศวกร และหัวหน้าหน่วยงาน สามารถนำเทคนิคทางสถิติไปประยุกต์ใช้ในการควบคุมการผลิตและพัฒนาคุณภาพในการผลิตได้อย่างต่อเนื่อง ตลอดจนสอดคล้องกับข้อกำหนด ISO 9001:2000 วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้ทราบถึงแนวคิดในการใช้สถิติในการควบคุณภาพ 2. เพื่อให้สามารถวิเคราะห์ได้ถึงความสามารถของกระบวนการผลิต 3. เพื่อให้สามารถประยุกต์ใช้แผนภูมิควบคุมประเภทต่างๆในการควบคุมคุณภาพ หัวข้อวิชาการอบรม 1. แนวคิดในการใช้สถิติเพื่อการควบคุมคุณภาพ วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เข้าอบรมทราบถึงแนวคิดและความสำคัญในการใช้สถิติเพื่อการควบคุม คุณภาพ 2. หลักการทางสถิติเบื้องต้นในการวิเคราะห์ข้อมูล วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมทราบถึงประเภทของข้อมูล, ความหมายของประชากร และกลุ่มตัวอย่าง 2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำข้อมูลมาคำนวณค่าทางสถิติต่างๆ 3. Histogram และคุณสมบัติของการแจกแจงแบบปกติ วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถพิจารณาถึงลักษณะการกระจายของค่าควบ คุมในกระบวนการผลิตและประเมินระดับของเสียในการผลิต 2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมทราบถึงคุณสมบัติของการแจกแจงแบบปกติ 4. ดัชนีวัดความสามารถของกระบวนการผลิต ( CP, CPK ) วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เข้าอบรมทราบถึงวิธีการวัดความสามารถของกระบวนการผลิต […]

Read more

การสร้างคุณภาพระดับ 6 ซิกม่า

หลักการและเหตุผล ในปัจจุบันการบริหารองค์การใดๆ ไม่ใช่เพียงเพื่อให้อยู่รอดเท่านั้น ยังจะต้องเพิ่มพูนซึ่งผลกำไร อันเกิดจากความจงรักภักดีของลูกค้า ความพึงพอใจของพนักงานและการยกระดับสมรรถนะขององค์การให้สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ องค์การใดๆ ก็ตามจะได้รับการวัดสมรรถนะพื้นฐาน 3 ข้อด้วยกัน ก็คือ คุณภาพ การส่งมอบและราคา วัตถุประสงค์: 1. เพื่อสร้างความเข้าใจขั้นพื้นฐานในแนวคิด และขั้นตอนการปฏิบัติตามกรรมวิธีทาง 6 ซิกม่า 2. เพื่อเตรียมความพร้อมขององค์กรก่อนการนำแนวคิดทาง 6 ซิกม่าไปปฏิบัติจริงในอนาคต เนื้อหา: 1. แนวความคิดของการบริหารด้วย 6 ซิกม่า 2. ความหมายของ 6 ซิกม่า ในเชิงเทคนิค 3. ความหมายของ 6 ซิกม่า ในเชิงบริหาร 4. เทคนิคและเครื่องมือในการบริหารเพื่อ 6 ซิกม่า -การค้นหาปัญหาปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพ (วัดสภาพปัจจุบัน) -การมองปัญหาในมุมของสถิติ (วิเคราะห์) -การทดลองปัจจัย เพื่อให้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด (ปรับปรุง) -การรักษาสภาพการปรับปรุง (ควบคุม) ระยะเวลาการฝึกอบรม: 1 วัน จำนวนผู้เข้าอบรม: […]

Read more

QCC Workshop

หลักการและเหตุผล Qcc เป็นกิจกรรมที่ช่วยพัฒนาทักษะความรู้การทำงานของพนักงานทุกระดับ ให้มีความรู้ความสามารถในเรื่อง การพัฒนาคน พัฒนางาน พัฒนาทีมงาน โดยมุ่งเน้นให้ทุกคนสามารถตระหนักและเห็นความสำคัญในเรื่องของคุณภาพเป็นสำคัญและต้องจัดการกับสิ่งที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานของคุณภาพด้วยตัวของพนักงานเองและต่อเนื่อง นอกจากนั้นยังช่วยพัฒนาทักษะของความเป็นผู้นำของพนักงาน และให้พนักงานได้แสดงความสามารถ ความคิดสร้างสรรค์อย่างไม่มีที่สิ้นสุด เป็นต้น ซึ่ง กิจกรรมดังกล่าวจะช่วยให้บริษัทสามารถเพิ่มความสามารถในการแข่งขันกับตลาดได้อย่างยั่งยืนและ มั่นคง ดังนั้นทุกหน่วยงานต้องให้ความสำคัญและเอาจริงเอาจังกับเรื่องของการทำ Qcc อย่างต่อเนื่องและต้องให้เวลาค่อยเป็นค่อยไป เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องนั่นเอง วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้ผู้เข้าสัมมนาเข้าใจหลักการ/ขั้นตอน/เป้าหมาย/เครื่องมือ/ความสำคัญของ Qcc 2. เพื่อให้ผู้เข้าสัมมนาเกิดทักษะบางส่วนการทำภาคปฏิบัติ 3. เพื่อให้ผู้เข้าสัมมนาสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการทำ Qcc ของหน่วยงานได้ หัวข้อวิชาการอบรม 1. แนวคิดและความสำคัญของ QCC  ความหมายของ QCC  เป้าหมาย ของ QCC  หลักการพื้นฐานของ QCC  องค์ประกอบของ QCC 2. ขั้นตอนของ QC Story 3. เทคนิค/เครื่องมือที่ช่วยในการทำงานเป็นทีม 4. หัวข้อการนำเสนอ QCC […]

Read more

การปรับปรุงสายการผลิตด้วยเทคนิค POKA YOKE

หลักการและเหตุผล วิธีการปรับปรุงสายการผลิตนั้นสามารถดำเนินการได้จากหลายวิธีขึ้นอยู่กับโรงงานอุตสาหกรรมว่ามีความต้องการแก้ไขปัญหาในจุดใด เช่น การปรับปรุงกระบวนการทำงาน การปรับปรุงเวลาการผลิต การลดความผิดพลาดที่เกิดขึ้นในสายการผลิต หรือการปรับปรุงเครื่องมือเครื่องจักรในการทำงาน เป็นต้น สำหรับหลักสูตรนี้จะได้นำเสนอวิธีการในการปรับปรุงสายการผลิตรูปแบบหนึ่ง ซึ่งเป็นที่นิยมมากในประเทศญี่ปุ่น เนื่องจากสามารถแก้ไขปัญหาของความผิดพลาดที่สาเหตุของปัญหา (Source Inspection) ทำให้สายการผลิตดำเนินการได้อย่างราบรื่นกระบวนการผลิตและเวลาในการผลิตดีขึ้นอีกทั้งสามารถขจัดปัญหาทางด้านของเสียหรือความผิดพลาดด้านต่างๆได้เป็นอย่างดี โดยเทคนิคนี้เรียกว่า Poka-Yoke ระบบ Poka-Yoke คือ “ระบบป้องกันความผิดพลาด” ซึ่งมีรากฐานมาจากภาษาญี่ปุ่นจากคำว่า POKA ที่หมายถึง ความผิดพลาดจากการไม่เอาใจใส่ และYOKE ที่หมายถึง ป้องกัน/ไม่ให้เกิด/หลีกเลี่ยง ระบบ Poka-Yoke นั้นจะตรวจสอบการผลิตและเตือนก่อนที่จะมีการ ผลิตของเสีย (Defect) เกิดขึ้นในสายการผลิต ทำให้กระบวนการมีความถูกต้องเท่านั้นที่จะสามารถผ่านกระบวนการผลิตนั้นและไปสู่กระบวนการต่อไปได้ ทำให้สายการผลิตราบรื่นและมีปัญหาของเสียน้อยลงจนมุ่งเข้าสู่ของเสียเป็นศูนย์ได้ วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้ทราบถึงมุมมองโดยรวมของการปรับปรุงสายการผลิต 2. เพื่อให้เข้าใจโครงสร้างและสาเหตุของความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้นในสายการผลิต 3. เพื่อให้เข้าใจหลักการและเทคนิคของการป้องกันความผิดพลาด Poka-Yoke 4. เพื่อทราบถึงแนวทางการดำเนินการปรับปรุงคุณภาพโดยใช้ระบบ Poka-Yoke 5. เพื่อให้สามารถวิเคราะห์ปัญหาความผิดพลาดและแก้ไขด้วยเทคนิค Poka-Yoke หัวข้อวิชาการอบรม 1. แนวคิดในการปรับปรุงสายการผลิตโดยรวม 2. แนวคิดของ Poka-Yoke […]

Read more

การวิเคราะห์ระบบการวัด

หลักการและเหตุผล ในการวางแผนคุณภาพผลิตภัณฑ์ นอกจากการกำหนดจุดควบคุมต่าง ๆ แล้ว การเลือกระบบการวัดที่เหมาะสม เพื่อใช้พิสูจน์ถึงความสอดคล้องของผลิตภัณฑ์ต่อก็เป็นสิ่งที่จำเป็น ดังนั้นผู้ที่ทำหน้าที่ในการวางแผนคุณภาพผลิตภัณฑ์ควรมีความเข้าใจในการเลือกระบบการวัดที่เหมาะสมต่อคุณสมบัตินั้น ๆ ของผลิตภัณฑ์ที่ต้องการวัด ได้แก่ ชนิดของอุปกรณ์วัด ผู้ทำการวัด วิธีการวัด และสิ่งแวดล้อมในการวัด หลักสูตร “การวิเคราะห์ระบบการวัด” จะเป็นหลักสูตรที่สอนให้วิศวกรและหัวหน้างานที่มีหน้าที่รับผิดชอบในเรื่องการวางแผนคุณภาพผลิตภัณฑ์ และมีพื้นฐานทางด้านสถิติเบื้องต้น วัตถุประสงค์ 1. เข้าใจระบบการวัดและชนิดของระบบการวัด 2. การนำระบบการวัดไปใช้ในการวางแผนคุณภาพ 3. เข้าใจผลและความหมายที่ได้จากการศึกษา เนื้อหาหลักสูตร – ระบบการวัด และชนิดของระบบการวัด – คุณสมบัติเชิงสถิติของระบบการวัด – การเตรียมการศึกษาระบบการวัด – การวิเคราะห์คุณสมบัติด้าน Stability, Bias, Linearity – ชนิดของ Gauge R&R – การวิเคราะห์ Gauge R&R โดย วิธี Range – การวิเคราะห์ Gauge R&R โดย […]

Read more

Lean Manufacturing

หลักการและเหตุผล ในสภาวะปัจจุบันการแข่งขันทางธุรกิจเป็นไปอย่างรุนแรง องค์กรใดที่มีศักยภาพในการแข่งขันสูงก็จะสามารถอยู่รอดและเป็นผู้นำในธุรกิจได้ หลักสูตร “Lean Manufacturing” จะเป็นหลักสูตรที่สอนให้ผู้บริหาร, วิศวกร และหัวหน้างาน ทราบถึงหลักการของลีน , เครื่องมือสำหรับการผลิตแบบลีนด้านลดความสูญเปล่า , การไหลอย่างต่อเนื่อง , การดึงดูดจากลูกค้า , การตัดสินใจ ตลอดจนการผลิตแบบลีนในอุตสาหกรรม เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันขององค์กรให้สูงขึ้น วัตถุประสงค์ 1. ลดความสูญเปล่าในกระบวนการผลิต 2. เพื่อสร้างคุณค่าเพิ่ม โดยการกำหนดคุณค่าของลูกค้าและ สายธารคุณค่าสำหรับแต่ละผลิตภัณฑ์ 3. อธิบายและวิเคราะห์ข้อได้เปรียบเชิงการแข่งขันซึ่งแนะนำและข้อปฏิบัติในการลดการออกแบบ ระบบขนส่งผลิตภัณฑ์ หัวข้อวิชาการอบรม1. ภาพรวมของการผลิตแบบลีน 2. กลยุทธ์สำหรับการผลิตแบบลีน 3. หลักการของลีน 4. แผนเส้นทางสู่การนำไปใช้ในการปรับปรุง 5. กรณีศึกษาการผลิตแบบลีน 6. เครื่องมือสำหรับการผลิตแบบลีนด้าน – ลดความสูญเปล่า , การไหลอย่างต่อเนื่อง – การดึงดูดจากลูกค้า , การตัดสินใจ 7. การผลิตแบบลีนในอุตสาหกรรม SMEs 8. ความสัมพันธ์ของการผลิตแบบลีนกับระบบอื่นๆ […]

Read more

JUS-IN-TIME (การผลิตแบบทันเวลาพอดี)

หลักการและเหตุผล “คุณภาพ ต้นทุน และการส่งมอบ ความต้องการ 3 ประการของลูกค้า” บางธุรกิจลูกค้าจะให้ความสำคัญต่อคุณภาพมากที่สุด เราควรเลือกระบบบริหารที่ช่วยพัฒนาคุณภาพ เช่น TQM, QS-9000, Six Sigma บางธุรกิจเรื่องต้นทุนสำคัญที่สุด ระบบที่เหมาะสมก็น่าจะเป็น TPM แต่สำหรับธุรกิจที่ต้องแข่งกับเวลา ต้องผลิตตามคำสั่งลูกค้า ระบบที่แม้แต่ชาติตะวันตกยังต้องนำไปประยุกต์ใช้ คือ Just In Time หรือ JIT ระบบผลิตทันเวลาพอดี เป็นระบบผลิตที่ถือได้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงแบบพลิกโฉม Shift Paradigm หรือคิดใหม่ Rethink จริงๆ เป็นระบบที่พูดว่า “คำนึงถึงความต้องการของลูกค้า” ได้อย่างเต็มปาก และเพราะความคำนึงถึงความต้องการของลูกค้านี้นี่เอง ทำให้สามารถลดต้นทุนผ่านการประกันคุณภาพ และการลดเวลาการผลิตลงได้ จึงเป็นระบบบริหารที่เด่นชัดมากในเรื่อง ดี ถูก เร็ว วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมตระหนักถึงความสำคัญของ JIT และมีความเข้าใจในแนวคิดของ JIT PRODUCTION 2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำแนวคิด JIT ไปประยุกต์ใช้เพื่อการปรับปรุงการเพิ่มผลผลิตในบริษัทของตนเอง หัวข้อวิชาการอบรม […]

Read more

วิศวกรรมคอนเคอร์เร็นท์การออกแบบเพื่อการประกอบ และ การผลิต

หลักการและเหตุผล วิศวกรรมคอนเคอร์เร็นท์ (Concurrent Engineering, CE) เป็นหนึ่งในปรัชญาที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางทั้งในทวีปยุโรป และสหรัฐอเมริกา เนื่องจากสามารถช่วยให้กระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่สามารถดำเนินการได้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิภาพ และมีต้นทุนต่ำ เนื่องจากวิศวกรรมคอนเคอร์เร็นท์ มีแนวทางในการทำงานอย่างเป็นระบบใน การรวบรวม การออกแบบและการผลิตในทุกส่วน โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้พัฒนาผลิตภัณฑ์ได้พิจารณาการออกแบบตั้งแต่ เริ่มต้นไปสู่การควบคุมคุณภาพ และความต้องการอื่นๆไปจนถึงจนถึงการเก็บทิ้งเมื่อหมดอายุ สำหรับหลักสูตรนี้จะได้นำเสนอแนวทางสำคัญบางส่วนในวิศวกรรมคอนเคอร์เร็นท์ที่สามารถช่วยในการพัฒนาอุตสาหกรรมประเทศไทยได้เป็นอย่างดีได้แก่ 1.การออกแบบเพื่อการประกอบ (DFA) ที่สามารถช่วยลดชิ้นส่วนที่ต้องใช้ ในการประกอบเพื่อให้สามารถประกอบได้รวดเร็วสะดวกเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต 2.การออกแบบเพื่อการผลิต (DFM) ที่เน้นถึงวิธีการในการวัดความสามารถในการผลิตด้วยวิธีการวัดผลทางด้านคุณภาพและปริมาณ ซึ่งวิธีการและแนวทางการประยุกต์ใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและผลกำไรให้กับองค์กรด้วยวิศวกรรมคอนเคอร์เร็นท์นี้ ท่านสามารถหาคำตอบได้ในหลักสูตรการอบรมครั้งนี้ วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้ผู้อบรมทราบถึงมุมมองโดยรวมของวิศวกรรมคอนเคอร์เร็นท์ 2. เพื่อให้ผู้อบรมได้รับความรู้แนวทางในการออกแบบเพื่อการประกอบ (DFA) 3. เพื่อให้ผู้อบรมได้รับความรู้แนวทางในการออกแบบเพื่อการผลิต (DFM) 4. เพื่อให้ผู้อบรมได้นำความรู้ที่ได้เรียนไปปรับใช้ในการทำงานภายในทีมออกแบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ 5. เพื่อให้ผู้อบรมได้รับได้มีการฝึกปฏิบัติในการออกแบบเพื่อการประกอบและการผลิต หัวข้อวิชาการอบรม 1. เรียนรู้ประวัติและมุมมองโดยรวมของวิศวกรรมคอนเคอร์เร็นท์ 2. วัตถุประสงค์ของวิศวกรรมคอนเคอร์เร็นท์ 3. ประโยชน์ของวิศวกรรมคอนเคอร์เร็นท์ 4. พื้นฐานการออกแบบเพื่อการประกอบ 5. อิทธิพลของการออกแบบกับความสามารถในการประกอบ 6. ระเบียบวิธี DFA 7. เครื่องมือในการออกแบบเพื่อการประกอบ […]

Read more

Top