Call us: 02-3282110 | E-mail: training@trainerinthai.com

Author Archive

การเขียน Action Plan อย่างมีประสิทธิภาพ

หลักการ และเหตุผล วิสัยทัศน์ (Vision) พันธกิจ (Mission) กลยุทธ์ (Strategic) และเป้าหมาย (Target) ที่ผู้บริหารระดับสูงกำหนดไว้ ถือเป็นสิ่งที่ชี้วัดความสำเร็จของหน่วยงาน และผู้ปฏิบัติงาน โดยดัชนีชี้วัดผลงาน หรือ KPI (Key Performance Indicator) แต่ละหัวข้อต่อนำไปสู่การปฏิบัติจริง โดยการกำหนดแผนงานที่มีประสิทธิภาพ เพื่อจะทำให้การดำเนินงานนั้นบรรลุตามวัตถุประสงค์ และเป้าหมายที่ได้วางไว้ การปฏิบัติงานไม่บรรลุเป้าหมายนั้น ปัญหาหลักเกิดจากการวางแผนการปฏิบัติงาน (Action Plan) ที่ขาดประสิทธิภาพ เช่น แผนงานไม่สามารถใช้งานได้จริง ขาดการวิเคราะห์อย่างเป็นระบบในทุกรายละเอียดทั้งจากสภาพแวดล้อมภายใน และภายนอก การขาดความชัดเจนในการปฏิบัติงาน และการขาดผู้รับผิดชอบ เป็นต้น ซึ่งปัญหาดังกล่าว ส่งผลต่อความสำเร็จของหน่วยงาน และผู้ปฏิบัติงาน ด้วยเหตุนี้เองจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้กำหนด หรือผู้เขียนแผนการปฏิบัติงาน (Action Plan) ควรมีการกำหนดแผนการปฏิบัติงาน (Action Plan) นั้นให้ถูกต้อง สมบูรณ์ และสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง เพื่อเป็นการประกันได้ว่าผลลัพธ์ที่จะตามมานั้นจะประสบความสำเร็จดังที่ได้ตั้งใจเอาไว้ ดังคำกล่าวที่ว่า “วางแผนดี เท่ากับประสบความสำเร็จไปแล้วครึ่งหนึ่ง” วัตถุประสงค์ • เพื่อให้ทราบถึงภาพรวมของวิสัยทัศน์ […]

Tags: , , , ,

Read more

การพัฒนา 10 ความสามารถหลักเพื่อก้าวสู่ยอดหัวหน้างาน (Development 10 Competencies for Effective Supervisor)

หลักการ และเหตุผล หัวหน้างาน (Supervisor) ถือเป็นบุคคลที่มีความสำคัญมากต่อหน่วยงาน เพราะเป็นประสานนโยบายจากผู้บริหาร ถ่ายทอดไปสู่พนักงานระดับปฏิบัติงาน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ และเป้าหมายของบริษัท จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่หัวหน้างานต้องประเมินความสามารถหลักของตนเอง เพื่อหาจุดอ่อน และจุดแข็ง และปรับปรุง พัฒนาอย่างเป็นระบบเพื่อพัฒนาสู่ยอดหัวหน้างานในอนาคตต่อไป วัตถุประสงค์ 1. เพื่อวิเคราะห์ ความสามารถหลัก ของหัวหน้างาน ให้ทราบจุดอ่อน และจุดแข็งของตนเอง 2. เพื่อพัฒนา 10 ความสามารถหลักสำหรับหัวหน้างาน 3. เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุง และเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน 4. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้กับบริษัท 5. เพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน (Competitive Advantage) ให้กับตนเอง และหน่วยงาน หัวข้อการบรรยาย 1. การประเมิน 10 ความสามารถหลักของหัวหน้างาน (Competency Check List) 2. ปัญหาที่พบในการพัฒนา 10 ความสามารถหลักของหัวหน้างาน ดังนี้ 1.การทำงานในสายอาชีพ (Technical Knowledge) 2 .การวางแผน (Planning) […]

Tags: , , , ,

Read more

ภาวะผู้นำและการเป็นหัวหน้างานที่ลูกน้องรักและบริษัทเชิดชู

หลักการ และเหตุผล หัวหน้างานใครๆ ก็เป็นได้ แต่การที่จะเป็นหัวหน้งานที่ลูกน้องต้องการ และบริษัทเชิดชูนั้น ต้องอาศัย ความรู้ความสามารถในหลายๆ ด้าน เพราะการที่จะเป็นหัวหน้างานที่ประสบความสำเร็จ ได้นั้นต้องมีทั้งศาสตร์ และศิลป์ซึ่งต้องใช้ทั้งพระเดช และพระคุณ ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่หัวหน้างาน จะต้องมี ความรู้ ละ ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในการบริหารงาน และบริหารคน เพื่อทำให้ประสบความสำเร็จในอาชีพ และชีวิตการทำงาน วัตถุประสงค์ 1. เพื่อสร้างทัศนคติที่ดีให้กับหัวหน้างาน 2. เพื่อเรียนรู้ และพัฒนาทักษะในการทำงานให้ลูกน้องรัก และต้องการ 3. เพื่อเรียนรู้ และพัฒนาทักษะในการทำงานให้ประสบความสำเร็จ 4. เพื่อเรียนรู้ และพัฒนาความรู้ด้านการบริหารจัดการคน และงาน 5. เพื่อนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาตนเอง และหน่วนงานให้ประสบความสำเร็จ หัวข้อการบรรยาย 1. ประเมินความสามารถของตนเอง เพื่อเรียนรู้ตนเอง จุดอ่อน จุดแข็ง 2. การวิเคราะห์ และพัฒนาภาวะผู้นำ เพื่อเป็นพนักงานที่ทุกคนรัก 3. การเรียนรู้ในการทำงานร่วมกับผู้อื่น ให้ประสบความสำเร็จ ทั้งหัวหน้า ลูกน้อง และเพื่อร่วมงาน […]

Tags: , , , ,

Read more

การบริหารเวลาเพื่อความสำเร็จ (Manage Your Time Manage Your Success)

หลักการ และเหตุผล ท่านเคยถามตัวเองแบบนี้บ้างหรือไม่? “ฉันอยากจะมีเวลาซักวันละ 30 ชั่วโมง” “ฉันอยากมีความสุขกับชีวิตมากกว่านี้” “ฉันมักจะถูกไฟลนก้นอยู่เสมอ” “ฉันหาสมดุย์ของชีวิตการทำงาน และครอบครัวไม่ได้” “ฉันเครียดเหลือเกินแล้วใช่ไหมเนี้ย?” “แล้วฉันจะบริหารชีวิตอย่างไรดีจึงจะเรียกได้ว่าเป็นผู้ประสบความสำเร็จ?” เวลา คือสิ่งที่สำคัญ เพราะแล้วหมดไป มีเงินเท่าไรก็ไม่สามารถหาซื้อได้ ทุกคนมีเวลาวันละ 24 ชั่วโมงเท่ากัน แต่ทำไม? บางคนถึงใช้ชีวิตอย่างมีความสุข มีครอบครัวที่อบอุ่น และการงานก็เจริญก้าวหน้า ตรงข้ามกับใครอีกหลายคน ที่ต้องทำงานกลับบ้านดึก หอบงานกลับไปทำต่อที่บ้าน เสาร์ อาทิตย์ ก็ไม่มีเวลาอยู่กับครอบครัว วัตถุประสงค์ 1. เพื่อสามารถบริหารเวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด 2. เพื่อสร้างสมดุลระหว่างชีวิตการปฏิบัติงาน และชีวิตครอบครัว 3. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้สูงขึ้น โดยที่เหนื่อยน้อยลง 4. เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตให้สูงขึ้น 5. เพื่อสร้างความสุขให้กับตนเอง และครอบครัว หัวข้อการบรรยาย 1. แนวความคิด ความสำคัญ ของการบริหารเวลา 2. วิเคราะห์ภาพรวมการใช้เวลา การประเมินการใช้เวลา 3. การกำหนดเป้าหมายและแนวทางการบรรลุเป้าหมาย 4. การค้นหาหัวใจของการทำงาน […]

Tags: , , ,

Read more

การนำ KPI ไปปฏิบัติให้บรรลุผลสำเร็จ (Effectiveness KPI Application)

หลักการ และเหตุผล KPI (Key Performance Indicators) หรือดัชนีชี้วัดผลงาน เป็นเครื่องมือหนึ่งที่นำมาใช้ในการบริหารจัดการ เพื่อทำให้ทราบถึงผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากงานที่ได้ปฏิบัติไป ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่พนักงานทุกคนในองค์การจะต้องมีความเข้าใจ และให้ความสำคัญกับ KPI เพราะถ้าหากเรามีความเข้าใจ และได้นำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง และเหมาะสม จะทำให้เกิดการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลอย่างมาก วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับ KPI (Key Performance Indicators) 2. เพื่อสร้างความตระหนักถึงการปฏิบัติงานในปัจจุบัน และอนาคต 3. เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนด KPI ให้เหมาะสมกับหน่วยงาน 4. เพื่อใช้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการปฏิบัติงานให้เหมาะสม และสอดคล้องกับการบริหารงานในปัจจุบัน 5. เพื่อยกระดับการปฏิบัติงานในปัจจุบันให้สุงขึ้น หัวข้อการบรรยาย 1. KPI ความหมาย ความสำคัญ และการนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด 2. การปรับเปลี่ยนแนวคิด (Mind Changing) เพื่อพิชิต KPI 3. แนวทางการกำหนด KPI ให้เหมาะสมกับการปฏิบัติงานปัจจุบัน 4. การเปลี่ยนแปลงการทำงาน […]

Read more

การดำเนินกิจกรรมกลุ่ม QCC อย่างมีประสิทธิภาพ (Effective QCC. Activity)

หลักการ และเหตุผล QC Story เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการแก้ไขปัญหา และพัฒนาการปฏิบติงานอย่างเป็นระบบ วงล้อของเดมิ่ง Deming Circle ซึ่งประกอบด้วย PDAC Plan Do Check และ Action หน่วยงานใดสามารถนำระบบ QC Story ไปใช้ได้อย่างจริงจัง จะพบการเปลี่ยนแปลงขในการปฏิบัติงานไปในทางที่ดีขึ้นอย่างแน่นอน เช่น ลดต้นทุนการผลิต ลดปัญหาความเสียหาย ลดความสูญเปล่าจากการแก้ไข การรอคอยงาน การขาดประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน เป็นต้น วัตถุประสงค์ 1. เพื่ออสร้างแนวคิดในการดำเนินกิจกรรม QCC อย่างเป็นระบบ 2. เพื่อเสริมสร้างแนวคิดการป้องกัน และแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ 3. เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุง และพัฒนาหน่วยงาน และบริษัท หัวข้อการบรรยาย 1. แนวคิด และหลักการของการแก้ไขปัญหาแบบ QC Story 2. การดำเนินกิจกรรม QC อย่างเป็นระบบ 3. ปัญหา และอุปสรรค์ ของการดำเนินกิจกรรม QC […]

Tags: , , , , , ,

Read more

การเป็นที่ปรึกษากลุ่มกิจกรรมคิวซีซี (QCC Advisor)

หลักการ และเหตุผล การดำเนินกลุ่มกิจกรรมที่ล้มเหลว ส่งผลทำให้การปรับปรุง และพัฒนาคุณภาพล้าช้า หรือหยุดชะงัก ซึ่งมีสาเหตุด้วยกันหลายประการเช่น การขาดความรู้ หรือไม่เข้าใจในการดำเนินกิจกรรมของสมาชิกในทีม การขาดความรู้ในการเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสม และอาจรวมไปถึงการขาดการสนับสนุนจากหัวหน้า หรือผู้ที่เกี่ยวช้อง ด้วยเหตุผลนี้ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกหน่วยงานต้องจัดผู้ที่มีความรู้ ความสามารถเพื่อเข้าไปให้คำปรึกษากับกลุ่มกิจกรรมคิวซีซี เพื่อให้คำที่ปรึกษา และสนับสนุนในด้านต่างๆ เพื่อให้การดำเนินกลุ่มกิจกรรมคิวซีซี บรรลุผลสำเร็จตามที่ได้ตั้งเป้าหมายเอาไว้ วัตถุประสงค์ • เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจการดำเนินกลุ่มกิจกรรมคิวซีซีที่ถูกต้อง • เพื่อให้ผู้เรียนสามารถให้คำปรึกษากับกลุ่มคิวซีซี ได้อย่างมีประสิทธิภาพ • เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ในการประยุกต์ใช้เครื่องมือต่างๆ เพื่อสนับสนุนการดำเนินกลุ่มกิจกรรมคิวซีซี หัวข้อการบรรยาย • ภาพรวมของการดำเนินกิจกรรมกลุ่มคิวซีซี • สาเหตุ แห่งความล้มเหลว ในการดำเนินกลุ่มกิจกรรมคิวซีซี • การแก้ไขปัญหาด้วย QC Story ยุคใหม่ (Theme Achievement) • การประยุกต์ใช้เครื่องมือในการดำเนินกลุ่มกิจกรรมคิวซีซี เช่น 5G Why Why and Root Cause Analysis 7QC Tolls และ […]

Tags: , , , , , ,

Read more

การลดต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ (Effective Cost Reduction)

หลักการ และเหตุผล หนึ่งในปัจจัยที่สร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน ที่ไมเคิล อี พอร์ทเตอร์ (Michael E. Porter) ได้กล่าวไว้คือ การเป็นผู้นำด้านต้นทุนการผลิต หรือ ต้นทุนการปฏิบัติงาน (Cost Leadership) เพราะคุณภาพของสินค้าของบริษัทแต่ละแห่งนั้นมีความใกล้เคียงกัน ดังนั้นถ้าหากเราสามารถทำให้ต้นทุนต่ำกว่าคู่แข่งขัน โดยการลดต้นทุนที่ไม่จำเป็น หรือลดความสูญเปล่าที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติงานแล้วละก็จะเป็นวิถีทางแห่งความสำเร็จ และเป็นการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับองค์กร ด้วยเหตุนี้ทุกบริษัทจึงให้ความสำคัญกับการลดต้นทุน เพราะเป็นวิธีการที่ง่ายที่สุดที่จะช่วยในการสร้างกำไร เพราะถึงแม้เรามีรายได้ไม่สูง แต่ถ้าต้นทุนต่ำ ก็สามารถทำให้เกิดกำไรได้ด้วยเช่นกัน วัตถุประสงค์ 1. เพื่อสร้างความตระหนักในด้านการลดต้นทุนการผลิต 2. เพื่อสร้างความเข้าใจ ในการลดต้นทุนที่ถูกต้อง 3. เพื่อสร้างมาตรฐานในการปฏิบัติงาน อันส่งผลต่อการลดต้นทุน หัวข้อการบรรยาย 1. ภาพรวมของการปฏิบัติงาน 2. การสร้างความตระหนักในการลดต้นทุน 3. การวิเคราะห์งาน ค้นหาจุดบกพร่อง และลดต้นทุน 4. ความสูญเปล่าจากการแก้ไขงาน 5. ความสูญเปล่าจากกระบวนการที่ขาดประสิทธิภาพ 6. ความสูญเปล่าจากการมีสินค้าคงคลังมากเกินไป 7. ความสูญเปล่าจากการรอคอย 8. ความสูญเปล่าจากการขนส่ง 9. ความสูญเปล่าจากการเคลื่อนไหว […]

Tags: , , ,

Read more

การควบคุมด้วยสายตา (Visual Control Application)

หลักการ และเหตุผล การควบคุมด้วยสายตา ถือเป็นเครื่องมือหนึ่งที่สำคัญมากในการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ และลดความผิดพลาดในการปฏิบัติงาน โดยถ้าหากเราสามารถประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสมแล้ว จะช่วยสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันได้อย่างแน่นอน วัตถุประสงค์ 1. เพื่อสร้างความรู้ และความเข้าใจเกี่ยวกับการควบคุมด้วยสายตา (Visual Control) 2. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์กระบวนการ และสร้างการควบคุมด้วยสายตาได้อย่างเหมาะสม 3. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำแนวคิด หลักการ และความรู้ ไปประยุกต์ใช้ดังต่อไปนี้ – การสื่อสาร Visual Control for Communication – ลดความผิดพลาดในการปฏิบัติงาน Visual Control for Foolproof – การควบคุมคุณภาพ Visual Control for Quality Control – การควคุมกระบวนการ Visual Control for Process Control – การควบคุมเครื่องจักร Visual Control for Machines – การปรับปรุง […]

Tags: , , ,

Read more

การสร้างจิตสำนึกคุณภาพ ภาคปฏิบัติ (Quality Awareness Building Workshop)

หลักการและเหตุผล ปัญหาชิ้นงานชำรุดเสียหาย (Defect) ต้องแก้ไขงาน (Rework) หรือไม่ได้คุณภาพ (Defect) เครื่องจักรชำรุด (Machine Breakdown) การส่งงานไม่ตรงเวลา (Delay) ลูกค้าส่งสินค้าคืน หรือ ร้องเรียน (Customer Return or Complain) การไม่บรรลุเป้าหมายที่ได้ตั้งเอาไว้ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับทุกหน่วยงาน ปัญหาดังกล่าวที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบต่อความพึงพอใจของลูกค้า (Customer Satisfaction) และความมั่นคงของบริษัท จากการวิเคราะห์พบว่า การขาดจิตสำนึกคุณภาพ (Quality Awareness) ในการปฏิบัติงาน เป็นสาเหตุสำคัญของปัญหาดังกล่าว ในปัจจุบันหลายหน่วยงานได้ให้ความสำคัญกับการสร้างจิตสำนึกคุณภาพ ให้เกิดขึ้นกับพนักงานทุกคนในหน่วยงาน โดยถือเป็นเรื่องที่มีความสำคัญลำดับต้นของหน่วยงานทีเดียว ขั้นตอนการสร้างจิตสำนึกคุณภาพ ภาคปฏิบัติ เริ่มจากการประเมินจิตสำนึกคุณภาพ เพื่อทราบระดับของจิตสำนึกของคุณภาพของพนักงาน แล้วให้ความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับคุณภาพในมิติต่างๆ ความคาดหวัง 3 ประการ ด้วยกระบวนการเรียนรู้ที่เหมาะสม นอกจากนี้ควรนำเครื่องมือ หรือกิจกรรมเพื่อกระตุ้นให้เกิดความต่อเนื่อง จนพนักงานมีความรู้สึกเป็นเจ้าของ มีทัศนคติที่ดีในการสร้าง และรักษาคุณภาพ และรักในงานที่ตนปฏิบัติ “การสร้างจิตสำนึกคุณภาพ ภาคปฏิบัติ จึงเป็นแนวทางใหม่ในการบริหารงาน ซึ่งจะพัฒนาวิธีการปฏิบัติงาน […]

Tags: , , , ,

Read more

1 11 12 13
Top