การสร้างจิตสำนึกคุณภาพ ภาคปฏิบัติ (Quality Awareness Building Workshop)
หลักการและเหตุผล
ปัญหาชิ้นงานชำรุดเสียหาย (Defect) ต้องแก้ไขงาน (Rework) หรือไม่ได้คุณภาพ (Defect) เครื่องจักรชำรุด (Machine Breakdown) การส่งงานไม่ตรงเวลา (Delay) ลูกค้าส่งสินค้าคืน หรือ ร้องเรียน (Customer Return or Complain) การไม่บรรลุเป้าหมายที่ได้ตั้งเอาไว้ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับทุกหน่วยงาน ปัญหาดังกล่าวที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบต่อความพึงพอใจของลูกค้า (Customer Satisfaction) และความมั่นคงของบริษัท จากการวิเคราะห์พบว่า การขาดจิตสำนึกคุณภาพ (Quality Awareness) ในการปฏิบัติงาน เป็นสาเหตุสำคัญของปัญหาดังกล่าว ในปัจจุบันหลายหน่วยงานได้ให้ความสำคัญกับการสร้างจิตสำนึกคุณภาพ ให้เกิดขึ้นกับพนักงานทุกคนในหน่วยงาน โดยถือเป็นเรื่องที่มีความสำคัญลำดับต้นของหน่วยงานทีเดียว
ขั้นตอนการสร้างจิตสำนึกคุณภาพ ภาคปฏิบัติ เริ่มจากการประเมินจิตสำนึกคุณภาพ เพื่อทราบระดับของจิตสำนึกของคุณภาพของพนักงาน แล้วให้ความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับคุณภาพในมิติต่างๆ ความคาดหวัง 3 ประการ ด้วยกระบวนการเรียนรู้ที่เหมาะสม นอกจากนี้ควรนำเครื่องมือ หรือกิจกรรมเพื่อกระตุ้นให้เกิดความต่อเนื่อง จนพนักงานมีความรู้สึกเป็นเจ้าของ มีทัศนคติที่ดีในการสร้าง และรักษาคุณภาพ และรักในงานที่ตนปฏิบัติ “การสร้างจิตสำนึกคุณภาพ ภาคปฏิบัติ จึงเป็นแนวทางใหม่ในการบริหารงาน ซึ่งจะพัฒนาวิธีการปฏิบัติงาน และพนักงานผู้ปฏิบัติไปพร้อมๆกัน โดยผ่านกระบวนการรับรู้ที่เหมาะสม ผลที่ได้คือเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และสร้างความเติบโตอย่างยั่งยืนในหน่วยงาน”
จุดเด่นของหลักสูตร
จัดทำขึ้นโดยเน้นกระบวนการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ โดยมีเนื้อหาที่เข้าใจง่าย เน้นการปฏิบัติจริงหน้างาน (Shop floor) จึงทำให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ หรือต่อยอดในหน่วยงานได้ง่าย
หัวข้อการฝึกอบรม
- การประเมินจิตสำนึกคุณภาพ โดยแบบทดสอบเพื่อประเมิน
- ปัญหาคุณภาพ ที่พบในการปฏิบัติงาน และวิธีการแก้ไข
- คุณภาพในมิติต่างๆ
- กระบวนการรับรู้ ซึ่งเป็นพื้นฐานของการทำงาน
- กระบวนการสร้างจิตสำนึกคุณภาพ ประกอบด้วย การรับรู้ การยอมรับ และการปฏิบัติด้วยความเต็มใจ
- การรับรู้ในความคาดหวัง 3 ประการ คือ ความคาดหวังของลูกค้า ของหน่วยงาน และของหัวหน้างาน
- แนวทางการปลูกฝังจิตสำนึกในการปฏิบัติงาน
- การติดตามผล และประเมินผล เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของงาน
- เครื่องมือ และกิจกรรม เพื่อส่งเสริมการสร้างจิตสำนึก
- ตัวอย่างการสร้างจิตสำนึกคุณภาพในหน่วยงานต่างๆ
ผลที่ได้รับ
- การประเมินจิตสำนึกคุณภาพ
- วิธีการแก้ไขปัญหาคุณภาพ ในการปฏิบัติงาน
- แนวคิดภาพรวมเกี่ยวกับคุณภาพในมิติต่างๆ
- สามารถประยุกต์กระบวนการรับรู้ เพื่อเป็นพื้นฐานในการฝึกอบรม และสร้างจิตสำนึกให้กับพนักงาน
- แนวทางการสร้างจิตสำนึกภาคปฎิบัติตั้งแต่เริ่มตน จนบรรลุผลการปฏิบัติ
- การสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้กับลูกค้า หน่วยงาน และหัวหน้างาน
- วิธีการปฏิบัติงาน เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย อย่างมีประสิทธิภาพ
- นำแนวคิด เครื่องมือ หรือกิจรรม ไปประยุกต์ใช้เพื่อสร้างจิตสำนึกคุณภาพในการปฏิบัติงาน
หัวข้อการฝึกอบรม
9.00 – 10.30
- ประเมินผลจิตสำนึกในคุณภาพ
- คุณภาพในมิติต่างๆ
10.30-10.45 พักรับประทานอาหารว่าง
10.45-12.00
- กระบวนการรับรู้ ซึ่งเป็นพื้นฐานของการทำงาน
- กระบวนการสร้างจิตสำนึกคุณภาพ ประกอบด้วย การรับรู้ การยอมรับ และการปฏิบัติด้วยความเต็มใจ
- กิจกรรมกลุ่ม “กระบวนการสร้างจิตสำนึกคุณภาพ”
12.00-13.00 พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00-14.30
- การรับรู้ในความคาดหวัง 3 ประการ คือ ความคาดหวังของลูกค้า
ของหน่วยงาน และของหัวหน้างาน - การปลูกฝังจิตสำนึกในการปฏิบัติงาน
14.45-16.00 พักรับประทานอาหารว่าง
14.45-16.00
- เครื่องมือ และกิจกรรม เพื่อส่งเสริมการสร้างจิตสำนึก
- ตัวอย่างการสร้างจิตสำนึกคุณภาพในหน่วยงานต่างๆ
- กิจกรรมกลุ่ม “การประยุกต์ใช้เครื่องมือและกิจกรรมเพื่อสร้างจิตสำนึกคุณภาพ”