หลักสูตร เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหาร มีระยะเวลาการฝึกอบรม
30 ชั่วโมง ประกอบด้วย 5 หมวดวิชา
วันที่ 1
หมวดวิชาที่ 1 ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานและบทบาทหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค (3 ชั่วโมง)
(ก) ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
(ข) หลักการบริหารจัดการความปลอดภัยในการทำงาน
(ค) บทบาทหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค
หมวดวิชาที่ 2 กฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (3 ชั่วโมง)
(ก) การบริหารกฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของกระทรวงแรงงาน
(ข) สาระสำคัญของกฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน และการนำกฎหมายไปสู่การปฏิบัติ
(ค) การตรวจสอบและเสนอแนะให้นายจ้างปฏิบัติตามกฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
วันที่ 2
หมวดวิชาที่ 3 การประเมินอันตรายจากการทำงาน (6 ชั่วโมง)
(ก) เทคนิคการชี้บ่งอันตราย
(ข) การประเมินความเสี่ยง
(ค) การจัดทำแผนการดำเนินการเพื่อลดความเสี่ยงและควบคุมอันตราย
วันที่ 3
หมวดวิชาที่ 4 การตรวจสอบหาสาเหตุการประสบอันตราย การเจ็บป่วยจากการทำงาน และการปรับปรุงสภาพการทำงาน (6 ชั่วโมง)
(ก) การตรวจความปลอดภัย
(ข) การวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย
(ค) การจัดทำคู่มือว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของหน่วยงาน
(ง) การสอบสวน การวิเคราะห์ และการรายงานอุบัติเหตุและการ เจ็บป่วยจากการทำงาน
(จ) การปรับปรุงสภาพการทำงาน
(ฉ) การรวมรวมสถิติ การจัดทำรายงานด้านความปลอดภัยในการทำงานและเสนอแนะต่อนายจ้าง
วันที่ 4
หมวดวิชาที่ 5 การป้องกันและการควบคุมอันตราย ( 3 ชั่วโมง)
(ก) การป้องกันและควบคุมอันตรายจากเครื่องจักร
(ข) การป้องกันและควบคุมอันตรายจากไฟฟ้า
(ค) การป้องกันและควบคุมอันตรายจากการเคลื่อนย้ายและการจัดเก็บวัสดุ
(ง) การป้องกันและการระงับอัคคีภัยในสถานประกอบกิจการ
(จ) การป้องกันและควบคุมอันตรายจากสภาพแวดล้อมในการทำงาน
(ฉ) การป้องกันและควบคุมอันตรายจากสารเคมี
(ช) การป้องกันและควบคุมปัญหาด้านการยศาสตร์
(ซ) การป้องกันและควบคุมอันตรายในงานก่อสร้าง
(ฌ) อุปกรณ์คุ้มครองและความปลอดภัยส่วนบุคคล
หมวดวิชาที่ 6 การฝึกปฏิบัติ ( 9 ชั่วโมง)
(ก) การฝึกปฏิบัติการตรวจความปลอดภัยตามข้อกำหนดของกฎหมาย
(ข) การฝึกปฏิบัติการชี้บ่งอันตราย การประเมินความเสี่ยง และการจัดทำแผนการดำเนินงานเพื่อลดความเสี่ยงและควบคุมอันตราย
วันที่ 5
หมวดวิชาที่ 6 การฝึกปฏิบัติ (ต่อ)
(ค) การฝึกปฏิบัติการจัดทำคู่มือว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนมัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของหน่วยงาน
(ง) การฝึกปฏิบัติการสอบสวน การวิเคราะห์ และการรายงานอุบัติเหตุและการเจ็บป่วยจากการทำงาน
(จ) การฝึกปฏิบัติการปรับปรุงสภาพการทำงาน
(ฉ) การฝึกปฏิบัติการจัดทำรายงานด้านความปลอดภัยในการทำงาน